บทความล่าสุด

Cisco CCNA Routing & Switching 200-125 Training 1 (Static Route)

CCNA Static Route LAB1

Static Route คือ โปรโตคอลชนิดหนึ่งซึ่งมีหน้าที่แบบเดียวกับ Routing RIP, EIGRP, OSPF, BGP เพื่อใช้ในการประกาศค่า Network IP หรือ IP Address บน Router หรือ Core Network เพื่อชี้ทางให้กับชุด IP นั้นๆ ว่าจะต้องวิ่งไปทาง Gateway ไหน เพื่อให้อุปกรณ์ที่ต่อเข้ากับระบบสามารถไปยังที่ๆ ต้องการได้นั่นเองครับ แต่สำหรับ Static Route นั้นจะนิยมใช้คู่กับโปรโตคอล Routing ทั่วไป เพื่อใช้เปลี่ยนบางเส้นทางการเดินของชุด Network หรือ IP นั้นๆ ให้เป็นไปตามคอนเซ็ปที่ผู้ดูแลระบบออกแบบไว้ หรือ ถูกผู้ใช้รีเควสมาว่าต้องวิ่งออกไปช่องทางนี้เท่านั้่นนะ

ในการ Config Static Route นั้นจะต้องมีการใช้ชุด Network IP หรือ IP Address , Subnet mask, Destination Gateway ควบคู่เสมอฉนั้นถ้าพูดถึงความยากของโปรโตคอล Routing จึงทำให้ Static Route นั้นอยู่ในอันดับต้นๆ ของการ Config ครับ แต่โดยทั่วไปอย่างที่ผมบอกในระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ Static Route มักจะใช้ควบคู่กับ RIP, EIGRP, OSPF, BGP ในการเปลี่ยนเส้นทางไปยังที่ๆ ต้องการ ถ้าท่านจะมาใช้ Static Route Route ทั้งองค์กรมันเป็นเรื่องที่จัดการยากมาก

LAB Static Route : Download ที่นี่

Static Route LAB1 (ภาพที่1)

จากภาพที่ 1 โจทย์ที่ต้องการคือ PC0, PC1 และ PC2 ต้อง Ping หากันได้ ซึ่งผมได้แจกแจงชุด IP Address ไว้ทางด้านขวามือแล้ว ดังนี้
  • network   คือ ชุด IP ทั้งหมดที่อยู่ใน RANG ของ MASK นั้นๆ โดยจะนำไปใช้ Route
  • boardcast คือ IP ตัวสุดท้ายที่ใช้วิ่งหา Network ที่อยู่ภายใน RANG ของ MASK นั้นๆ
  • avariable  คือ ชุด IP RANG ที่สามารถใช้ได้
  • netmask   คือ ใช้กำกับจำนวน Host ให้เหมาะกับ Network วงนั้นๆ ว่าจะใช้กี่ Host
หมายเหตุ : ก่อนทำการตั้งค่า Static Route ให้ใส่ชุด IP บน Router ที่ผมระบุให้ไว้ตาม Interface นั้นๆ  ให้ครบก่อนนะครับ วิธีใส่ IP ให้กับ Interface คลิกที่นี่

ภาพที่ 2

จากภาพที่ 2 สำหรับใครที่หาวิธีแสดง Interface ของอุปกรณ์ไม่เจอให้ไปตั้งค่าตามภาพก่อนครับ
  • Options \ Preferences \ เลือก Always Show Port Labels หรือ กด Ctrl+R

ภาพที่ 3

จากภาพที่ 3 เมื่อสามารถแสดง Interface ได้แล้วเราจะมาเริ่มทำการใส่ IP ให้กับ Interface ทุกขาตามโจทย์ครับและเพื่อความสมจริงผมจะให้ใช้ Computer 1 เครื่องพร้อมต่อสาย Console ไปที่ Router ตามภาพเลยครับ 

หมายเหตุ : ผู้อ่านสามารถดูชุด IP และ Subnet mask ที่ผมได้เขียนกำกับไว้ทางด้านขวามือของโปรแกรมครับ โดยให้มองภาพแบบนี้ครับว่า Router แต่ละตัวนั้นอยู่ต่างที่กัน โดยสาย Serial ที่ใช้ต่อเป็นรูปสายฟ้านั้นให้เปรียบเสมือนว่าเป็นการเชื่อมต่อแบบ MPLS(IP จริง) หรือ สายที่ทำให้เราสามารถออก Internet ได้เช่น 3BB, True, AIS Fiber เป็นต้น ซึ่งในส่วนของ MPLS นั้นผมจะใช้ IP จริงเป็นตัวอย่างของ LAB นี้ครับ

ถ้าผู้อ่านสงสัยว่า IP จริงของ IPv4 ใช้ RANG ใดสามารถดูได้ที่ด้านซ้ายของโปรแกรมครับและเช่นกันในส่วนของ Network ภายในองค์กร คือ PC0 PC1 PC2 ผมจะจำลองโดยใช้ Private IP ซึ่งถูกจัดสรรมาเพื่อให้ใช้ในองค์กรเท่านั้นโดย IP Private เหล่านี้จะไม่สามารถออก Internet ได้นอกจากจะมีการ NAT ที่ Router เพื่อให้ IP จริงพาออก Internet ได้ครับ

ภาพที่ 4

จากภาพที่ 4 คลิกที่รูปสายฟ้าและเลือกสาย Console เพื่อต่อเครื่อง PC กับ Router เข้าหากันครับ

ภาพที่ 5

จากภาพที่ 5 กดที่ Computer ไปที่ Desktop \ Terminal \ OK ท่านก็จะเข้าสู่หน้า Console ของ Router ทันที ซึ่งที่ต้องให้ทำแบบนี้นั้นเพราะว่าต้องการให้สมจริงมากขึ้นมาหน่อยครับ เพราะลองนึกภาพตอนเราทำงานจริงครับ เราจะต้องใช้ Notebook ไปเสียบที่อุปกรณ์ด้วยสาย Console และใช้โปรแกรมจำพวก Putty เข้าใช้งานผ่าน Port COM ต่างๆ ที่มีบน Notebook เราครับ วิธีใช้งานโปรแกรม Putty

เมื่อกดปุ่ม OK จะขึ้นหน้า Terminal ของ Router ทันทีซึ่งผมจะไม่ Capture มาเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจเร็วขึ้นด้วยตนเองครับ (สำหรับใครที่ไม่เข้าใจเรื่องการใส่ IP ให้กับ Interface คลิกที่นี่ครับ) เมื่อเข้าสู่หน้า Terminal ของ Router แล้วให้พิมพ์คำสั่งตามนี้เพื่อใส่ค่า IP ให้กับ Router ทุก Interface ที่มีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ครับ

คำสั่ง ตั้งค่า IP Address บน Router0
  • enable
  • config terminal
  • interface serial 0/0/0
    • ip address 150.30.255.254 255.240.0.0
    • no shutdown (ไม่ต้องปิด Interface นี้)
    • exit
  • interface faceEthernet 0/0
    • ip address 10.111.248.254 255.255.252.0
    • no shutdown
    • end (จบคำสั่งและกลับสู่หน้า Privileged EXEC Mode)
เพียงเท่านี้ Router0 ก็จะมี IP address ที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันภายใน Network วงเดียวกัน


ภาพที่ 6

จากภาพที่ 6 แน่นอนคุณจะต้องทำเช่นเดียวกับ ภาพที่ 5 ซึ่งใช้หลักการเดียวกันในการใส่ IP Address ให้กับอุปกรณ์ ลองทำดูนะครับ ถ้าใครยังทำไม่ได้ให้ดูวิธีด้านล่างได้เลย ใครทำได้แล้วไปลอง Ping ตามภาพที่ 7 ได้เลยครับ

คำสั่ง ตั้งค่า IP Address บน Router1


  • enable
  • config terminal
  • interface serial 0/0/0
    • ip address 150.20.255.254 255.240.0.0
    • no shutdown
    • exit
  • interface serial 0/0/1
    • ip address 8.0.0.254 255.128.0.0
    • no shutdown
    • exit
  • interface fastEthernet 0/0
    • ip address 171.29.10.254 255.255.254.0
    • no shutdown
    • end
หมายเหตุ : จะสังเกตุได้ว่า Router1 นั้นมีการเชื่อมต่อ Interface ทั้ง 3 ทาง ฉนั้นจะต้องดูโจทย์ดีๆ นะครับว่าโจทย์ต้องการอะไร โจทย์ต้องการให้ PC0 PC1 PC2 สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ฉนั้น Router1 จึงต้องรับหน้าที่เป็นตัวกลางส่งข้อมูลให้ทุก Network เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ครับ

คำสั่ง ตั้งค่า IP Address บน Router2
  • enable
  • config terminal
  • interface serial 0/0/0
    • ip address 8.100.255.254 255.128.0.0
    • no shutdown
    • exit
  • interface fastEthernet 0/0
    • ip address 192.168.80.254 255.255.255.0
    • no shutdown
    • end
สำหรับการใส่ IP Address ให้กับ Interface มีเพียงเท่านี้ครับ ขั้นตอนต่อจะต้องทดสอบ Ping Router ทุกตัวเพื่อทดสอบดูว่าคุณใส่ IP Address ของแต่ละ Network ถูกต้องหรือไม่

ภาพที่ 7

จากภาพที่ 7 เริ่มจากการเข้าที่ Router0 \ Desktop \ Terminal \ OK 

คำสั่ง Ping Router0 ไปยัง Router1
  • enable
  • ping 150.20.255.254
หมายเหตุ : สำหรับ IP 150.20.255.254 นั้นก็คือ IP ของ Interface serial 0/0/0 บน Router1 นั่นเองครับ ซึ่งให้มองภาพว่าเรายังไมไ่ด้ทำการใส่ Static Route เราจะไม่สามารถ ping ไปยัง Network วงอื่นๆ ได้ เช่น จะ ping ไปที่ 8.0.0.254 บน Router1 นั้นจะไม่มีทาง ping เจอ เพราะ Router ยังไม่ได้สร้าง Routing Table ครับ ซึ่งในบทความนี้คุณจะได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งเลยครับ

ให้ผู้อ่านลอง ping จาก Router ไปยัง Router ทุกตัวนะครับเพื่อทดสอบก่อนว่าเราใส่ IP และ Subnet mask ถูกหรือไม่

คำสั่ง Ping Router1 ไปยัง Router2
  • enable
  • ping 8.100.255.254
สำหรับ ท่านผู้อ่านที่ตัั้งค่าถูกต้องและสามารถ ping Router ได้ครบทุกตัวแล้วก็สามารถไปยังภาพที่ 8 ได้เลยครับ และใครที่ยังไม่สามารถ ping ได้ให้ลองตรวจสอบความถูกต้องโดย คลิกนี่ครับ

ภาพที่ 8

จากภาพที่ 8 เพื่อลดความสับสนในบทความนี้ผมจะเริ่มใช้งาน Static Route จาก Router0 ไป Router2 ก่อนนะครับเพื่อให้ Router ทั้ง 3 ตัวสามารถ ping กันได้ก่อ่น จากนั้นผมจะเริ่มใส่ Static Route ของแต่ละ Network ตั้งแต่ PC0 ถึง PC3 ให้สามารถ ping กันจนเจอนะครับ ค่อยๆ อ่านและทำตามไปเป็น Step Step ไม่ยากครับ 

เบื้องต้นผู้อ่านต้อง สังเกตุว่าทำไมผมไม่ใช้ Static Route จาก Router0 ไป Router1 นั้นเพราะว่า Router0 กับ Router1 เชื่อมต่อกันด้วย Network เดียวกันอยู่คือ 150.16.0.0 จึงไม่ต้องใช้ Static Route กับ Network ชุดนี้ ให้เรามองไปถึง Network ของ Router2 เลย ซึ่งก็คือ 8.0.0.0 นั่นเองครับ

หมายเหตุ : ทุกขั้นตอนต่อจากนี้ให้ฝึกใช้งาน Console Terminal โดยการเชื่อมต่อผ่าน PC เท่านั้นนะครับ

คำสั่ง Static Route จาก Router0 ไปยัง Router2
  • Router0>enable
  • Router0#>config terminal
  • Router0(config)#ip route 8.0.0.0 255.128.0.0 150.20.255.254
คำสั่ง Static Route จาก Router2 ไปยัง Router0
  • Router2>enable
  • Router2#>config terminal
  • Router2(config)#ip route 150.16.0.0 255.240.0.0 8.0.0.254

ภาพที่ 9

จากภาพที่ 9 อย่าไปงงกับที่ผมวงเล็บไว้นะครับ ในวงเล็กนั้นเพียงแค่บอกว่า Network วง 8.0.0.0 ถูกเปิดทางให้วิ่งมาออกทาง Network วง 150.16.0.0 เท่านั้น เมื่อเปิดให้วิ่งมาทางนี้ก็เท่ากับว่าชุด Network ทั้ง 2 วงก็สามารถสื่อสารกันได้ จากนั้นให้ลองใช้คำสั่ง ping จาก Router0 ไปยัง Router2 ก็จะสามารถ ping กันเจอครับ ดูคำสั่งให้ดีนะครับผมใส่คำสั่ง Static Route ให้กับทั้ง 2 Router คือ Router0 และ Router2 ผมไม่ได้ไปใส่ที่ Router1 นะครับและถ้าใส่ Static Route ที่ Router ตัวเดียวก็จะไม่สามารถ ping กันเจอครับ

ในส่วนการใช้คำสั่ง Static Route สำหรับ Network ภายในเพื่อให้ PC0 PC1 PC2 นั้นสามารถ ping กันได้จะอยู่ในบทความถัดไปครับและในเบื้องต้นผู้ที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับการใช้คำสั่ง Static Route ให้ลองฝึกทบทวนในบทนี้ให้คล่องก่อนนะครับ เพราะบทความต่อไปก็จะซับซ้อนขึ้นมาอีกหน่อยแต่ก็จะมีโครงสร้างเดียวกันครับ




ไม่มีความคิดเห็น