บทความล่าสุด

Cisco CCNA Basic 4 200-125

Cisco CCNA Basic 4

บทความที่ 4 จะเป็นการแนะนำเรื่องการใช้คำสั่ง interface เพื่อตั้ง IP ให้กับขาอุปกรณ์ Cisco นะครับ โดยคำสั่งนี้เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสอบ CCNA 200-125 เช่นกัน ฉนั้นผู้ฝึกควรทบทวนและจำคำสั่งให้แม่นเพื่อที่จะนำคำสั่งพื้นฐานนี้ไปพัฒนากับคำสั่งขั้นสูงได้ในอณาคตครับ

จากภาพที่ 1 ในตัวอย่างจะเป็นการเชื่อมต่อ Router 2 ตัวโดยใช้สาย DCE Serial Port ในการเชื่อมต่อกันและจะมีการตั้งค่า IP Address ให้กับ Router ทั้ง 2 ตัว โดยให้ Network IP คือ 192.168.10.0/30 ฉนั้น IP ที่สามารถใช้ได้ใน Network IP ชุดนี้คือ 192.168.10.1 - 192.168.10.2 เท่านั้น เพราะ Mask 30 เขียนเต็มจะได้ 255.255.255.252 จะได้ชุด IP 4 ชุด ต้องตัด IP Network และ IP Board Cast ออก จึงเหลือ IP ให้ใช้งานเพียง 2 IP นั่นเอง
ภาพที่ 1


หมายเหตุ ทุกบทความในหัวข้อ CCNA จะใช้โปรแกรม Cisco Packet Tracer ในการฝึกฝน


เริ่มปฏิบัติการ

จากภาพที่ 2 เลือกอุปกรณ์ Router 2811
  • กดที่ Router 2811
  • ปิด Router ตามวงเล็บสีแดง


ภาพที่ 2

ภาพที่ 3

จากภาพที่ 3 
  • เลือก WIC-T2 ลากไปยัง Slot Interface Card เพื่อเพิ่ม Feature Modules
  • เปิด Switch on ตามวงเล็บสีแดง
ภาพที่ 4

จากภาพที่ 4 
  • เลือกที่เมนู Connections โดยเลือกเป็น Serial DCE
  • ลากเส้นเชื่อมต่อจาก R1 Serial 0/0/0 ไปยัง R2 Serial 0/0/0

ภาพที่ 5

จากภาพที่ 5


  • เพื่อให้เกิดความสมจริงมากขึ้นในที่นี้จะใช้ PC 1 ตัวเพื่อเชื่อมต่อผ่านสาย Console

หมายเหตุ :
 ผู้ที่จะสอบ CCNA ควรใช้วิธีการนี้ในการฝึกฝนเพราะข้อสอบจริง จะให้ทำแบบนี้


ภาพที่ 6

จากภาพที่ 6


  • กดที่เมนู Connections เลือกสาย Console
  • นำสายไปเสียบที่ PC เลือก RS232 และปลายทางเสียบที่ Router เลือก Console
  •  
     
ภาพที่ 7

จากภาพที่ 7


  • กดที่ PC เลือกแทบ Desktop \ กดที่ Terminal


ภาพที่ 8

จากภาพที่ 8 

พิมพ์คำสั่ง (Cisco Command Line)
  • enable
  • show ip interface brief (ใช้เช็คชื่อ Port และเช็คว่า Port มีการเชื่อมต่ออยู่หรือไม่)
  • config terminal
  • interface serial 0/0/0
  • ip address 192.168.10.1 255.255.255.252
  • no shutdown (คำสั่งนี้คือสั่งให้ Port Interface นี้ไม่ต้องปิดนะ ให้เปิดเดี๋ยวนี้)
  • end (จบคำสั่งทั้งหมด และออกไปหน้า Privileged EXEC Mode หรือ enable mode)
  • write memory (บันทึกค่าลงหน่วยความจำบน Router)

หมายเหตุ จากภาพที่ 8 จะเป็นการใส่ IP ที่ Router 1 คือชุด 192.168.10.2 ผู้อ่านสามารถนำขั้นตอนทั้งหมดไปใส่ที่ Router 2 ตามภาพที่ 1 ได้เลย เพื่อเป็นการทบทวนคำสั่งอีกรอบนะครับ





ขอบคุณครับ

ไม่มีความคิดเห็น