บทความล่าสุด

Cisco CCNA Routing & Switching 200-125 Training 2 (Static Route)

CCNA Static Route LAB2

หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่ต่อเนื่องมาจาก CCNA Static Route LAB1 ครับ ซึ่งผู้อ่านท่านใดที่ยังไม่เข้าใจตั้งแต่แรกก็ลองทบทวนดูก่อนครับ ซึ่งบทความนี้ก็จะใกล้เคียงกับบทความแรกแต่จะเพิ่มการ Route เข้ามาอีกหน่อย เพื่อให้ Network ทุกวงสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ครับ

แล้วถ้าไม่ต้องการให้ Computer บางเครื่อง หรือ Network บางวงติดต่อกันได้หล่ะ? ถ้าเป็น Cisco ก็จะใช้คำสั่ง Static route บาง IP หรือ access-list เข้ามาควบคุมการทำงานของเครือข่ายครับ ซึ่งผมยังไม่ได้เขียนบทความ access-list ขึ้นมาเลย แต่จะหาเวลาเขียนให้เร็วที่สุดนะครับ

Static Route LAB2 (ภาพที่1)

จากภาพที่ 1 โจทย์ที่ต้องการคือ PC0, PC1 และ PC2 ต้อง Ping หากันได้ ซึ่งผมได้แจกแจงชุด IP Address ไว้ทางด้านขวามือแล้ว ดังนี้
  • network   คือ ชุด IP ทั้งหมดที่อยู่ใน RANG ของ MASK นั้นๆ โดยจะนำไปใช้ Route
  • boardcast คือ IP ตัวสุดท้ายที่ใช้วิ่งหา Network ที่อยู่ภายใน RANG ของ MASK นั้นๆ
  • avariable  คือ ชุด IP RANG ที่สามารถใช้ได้
  • netmask   คือ ใช้กำกับจำนวน Host ให้เหมาะกับ Network วงนั้นๆ ว่าจะใช้กี่ Host
ภาพที่ 2

จากภาพที่ 2 
  • คลิกที่ Computer PC0 เลือก IP Configuration ใส่ IP ตามที่ผมได้ระบุไว้ พร้อม Subnet (Subnet mask ดูได้จากทางตารางด้านขวามือ) ตามภาพที่3 
  • ในส่วนของ Gateway หรือ ประตูทางออก ซึ่งก็คือ Router ให้นำ IP ของ Router มาใส่ซึ่ง PC0 จะวิ่งออกไปที่ Router0 IP 10.111.248.254 ครับ

ภาพที่ 3

จากภาพที่ 3 ใส่ค่า IP ให้ครบทุกเครื่องนะครับ PC0, PC1, PC2 ในส่วนของ Subnet mask ดูจากตารางได้เลยครับ

ภาพที่ 4

จากภาพที่ 4 ไปกันต่อเลยครับ ต่อไปจะเป็นการใส่ Static Route เพื่อให้ Router 1 สามารถติดต่อกับวง Private PC0 ได้ครับ เลือก Terminal Configuration \ OK

ภาพที่ 5

จากภาพที่ 5 ใส่คำสั่งตามนี้
  • enable
  • show ip route (จากตัวอย่างจะเห็นว่า Router ตัวนี้ยังไม่มีการใส่ค่า Routing ใดๆ) 
  • config terminal
  • ip route 10.111.248.0 255.255.252.0 150.30.255.254
จากตัวอย่างจะเป็นการใส่ Static route แบบสามารถวิ่งผ่านได้ทั้ง Network (ดูได้จากตารางเพราะผมใส่ Network IP เข้าไป) และเช่นเดียวกันถ้าอยากให้วิ่งได้เฉพาะบาง IP ก็สามารถเปลี่ยนจาก Network IP เป็น IP Address ของอุปกรณ์นั้นๆ ได้ครับ ส่วนของ Subnet mask และ Gateway ก็ยังคงเดิมครับ

หมายเหตุ : IP 150.30.255.254 คือ Router ตัวข้างๆ ซึ่งให้ท่านจำไว้เสมอครับว่า Routing จะต้องวิ่งผ่าน Router ข้างๆ ก่อนเสมอ ไม่สามารถ Routing ข้ามไป Router ที่ 2 ได้โดยไม่ผ่าน Router ตัวข้างๆ นะครับ

ภาพที่ 6

จากภาพที่ 6 ลองทดสอบ ping ดูครับ โดยการกดที่ PC0 \ เลือก Command Prompt \ พิมพ์ ping 150.20.255.254 และลอง ping จาก Router1 กลับมา PC0 ครับถ้าทำตามขั้นตอนจะต้อง ping ได้อย่างแน่นอน

ภาพที่ 7

จากภาพที่ 7 และเช่นเดียวกันครับจากภาพ Router2 จะต้องสร้าง Static Route มาที่ Router1 เพื่อให้ IP 10.111.251.10 ของ PC0 นั้นสามารถวิ่งไปมาได้ครับ อย่างที่ผมบอกครับต้อง Route ชุด Network IP ไปที่ Router ข้างๆ เสมอ และ Router ข้างๆ ที่ชี้ไปนั้นจะต้องมี Routing ของ Network ชุดนั้นๆ เพื่อพร้อมนำทางอยู่ก่อนนะครับ

ภาพที่ 8

จากภาพที่ 8 คลิกที่ Router2 ใส่ค่าดังนี้
  • show ip route
  • config terminal
  • ip route 10.111.248.0 255.255.252.0 8.0.0.254
จะเห็นได้ว่า Router2 นั้นมี Route ชุด Network IP วง 150.16.0.0 ไว้แล้วตามที่เราได้ Config ไว้ใน Routing LAB1 จึงทำให้ Router ทั้ง 3 ติดต่อสื่อสารกันได้

ภาพที่ 9

จากภาพที่ 9 อย่าพรึ่ง งง นะครับ เพราะ ผม งง แล้ว 555+ Route ไป Route มา งง เหมือนกันครับ แต่สำหรับใครที่ งง ไม่เป็นไรครับ ท้ายบทความผมได้ลง LAB เฉลย ไว้แล้ว ยังไงก็ลองไปทบทวนกันได้ครับ

เราได้ Route Network IP วง 10.111.248.0 ให้สามารถคุยกับ Router ทุกตัวได้แล้ว ต่อไปจะเป็นการ Route ให้สามารถคุยกับ Network IP วง 192.168.80.0 ได้นะครับ ในส่วนของ Network วง 171.29.10.0 นั้นผมจะไว้ Route ตอนสุดท้ายนะครับ ตอนนี้จะ Route ตามภาพที่ 9 ก่อนครับ

เมื่อ Route ขั้นตอนแรกได้แล้วขั้นต่อไปก็ไม่ยากแล้วครับ แค่อย่าสับสนตาลายก็พอครับ โดยพิมพ์คำสั่งดังนี้
  • เข้า Router0 ผ่าน Terminal
    • enable
    • config t
    • ip route 192.168.80.0 255.255.255.0 150.20.255.254
  • เข้า Router1 ผ่าน Terminal 
    • enable
    • config t
    • ip route 192.168.80.0 255.255.255.0 8.100.255.254
หมายเหตุ : จะเห็นได้ว่า Router ที่มี Network วงนั้นเสียบอยู่จะไม่ต้องทำการ Route เพิ่ม ซึ่งก็คือ Router 3 เพราะจะมีค่า Connected ที่ Router รู้จักอยู่แล้วครับ

ภาพที่ 10

จากภาพที่ 10 ก่อนไปถึงขั้นตอนสุดท้ายลอง Ping  ดูสักหน่อย PC0 >> PC2

ภาพที่ 11

จากภาพที่ 11 ก่อนไปถึงขั้นตอนสุดท้ายลอง Ping  ดูสักหน่อย PC2 >> PC0

ภาพที่ 12

จากภาพที่ 12 ทำการใส่ Route Network IP วง 171.29.10.0 ใส่คำสั่งดังนี้
  • enable
  • config terminal
  • ip route 171.29.10.0 255.255.254.0 150.20.255.254
 ภาพที่ 13

จากภาพที่ 13 สุดท้ายก็ใส่ Static Route บน Router2 เพื่อให้ครบ Loop static route ของบทความนี้ครับ
  • enable
  • config terminal
  • ip route 171.29.10.0 255.255.254.0 150.20.255.254
ภาพที่ 14

จากภาพที่ 14 Double Click ที่ PC1 แล้วก็ลอง ping ไปยัง PC0, PC2 นะครับ ถ้าใครทำได้แสดงว่าเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งาน Static route ได้อย่างดีเลยครับ


สำหรับ LAB เฉลย สามารถ Download ได้ที่นี่


ขอบคุณครับ


ไม่มีความคิดเห็น