Omada Cloud ตอบทุกโจทย์ ตอบทุกราคา มาครบทุกเทคโนโลยีขั้นสูง
Omada Cloud Software Defined Networking (SDN)
Hospitality | Education | Retail | Office | and More
Gateways, Switches, Access Points, Controllers
TP-Link เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่ชาวไอทีสมัยก่อนจะรู้จักสินค้า Switch, Router, USB WiFi, Accessories Converter ต่างๆ โดยยุคที่คนเริ่มรู้จักส่วนใหญ่ก็จะเป็นรุ่น Router Wireless N สีขาวๆ 2 เสา Speed ที่ 150Mbps - 300Mbps นำมาทำ Wifi Repeater ขยายสัญญานบางจุด ซึ่งตอบได้เลยยุคนั้น Repeater ก็ใช้งานไม่ค่อยโอเคสักเท่าไหร่ ถ้าเกินระยะที่กำหนด หรือ เจอกำแพงบัง ก็จะแก้ปัญหาโดยลากสายแลนไปขยายทำเป็นโหมด Access Point แทน
ส่วน SOHO Switch (Small Office Home Office) ก็เป็นอุปกรณ์ที่ธุรกิจ SME ช่วง 7 - 8 ปีที่แล้วนั้น ถือว่าใช้กันเยอะมากเนื่องจากราคาถูกและที่โดดเด่นเลยคือเรื่องของ Warranty ที่จะใช้คำว่า Limited Lifetime เสมอ ซึ่งหมายความว่าอุปกรณ์นั้นรับประกันตลอดอายุการใช้งาน แต่แน่นอนพอใช้ไป 4-5 ปี รุ่นใหม่มาก็ไม่มีใครอยากใช้รุ่นเดิม ซึ่งคำว่า Lifetime Warranty จึงเหมาะแค่ช่วงป้องกันอุปกรณ์เสียหาย 1-2 ปีแรกเท่านั้น ซึ่งแผงวงจรเหล่านี้ได้ถูกออกแบบมาอย่างดีใช้เกิน 2 ปีสบายๆ
Omada Cloud คืออะไร?
TP-Link Omada เป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาขายให้กับธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ โดยผู้ใช้สามารถเลือกซื้อปรับแต่งได้ตามความเหมาะสมของธุรกิจโดยคำนวณตามจำนวนผู้ใช้ เช่น ถ้าธุรกิจขนาดเล็กก็จะจัดสเปกประมาณนี้
- Omada Controller OC200
- Omada VPN Router ER605
- Omada EAP225
- JetStream 28-Port TL-SG2428P
ถ้าธุรกิจขนาดใหญ่ก็จะจัดสเปกแบบ High-Performance เช่น
- Omada Controller OC300
- Omada VPN Router ER720
- Omada EAP670
- JetStream 28-Port TL-SG3428XMP
ซึ่งแน่นอน Feature และความเร็วที่ได้ เมื่อเทียบกับ Enterprise Grade อย่างพวก Cisco, Aruba, Huawei นั้นหลังจากตั้งค่าเสร็จแล้วผลลัพธ์ที่ได้แทบจะเหมือนกัน ทั้งความเร็ว, อายุการใช้งาน, การรองรับใช้งาน User พร้อมๆ กันหลายพันคน หรือ เรื่องเทคโนโลยีต่างๆ ก็มีเทียบเท่าระดับ Enterprise ทั้งหมด ซึ่งสรุปแล้วมันต่างกันตรงไหน? ขอแยกเป็น 4 ความต่างดังนี้ครับ
- ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของสินค้า
- ราคาที่ต่างกัน
- วัสดุที่ใช้ในการผลิต
- ใน Access Point ทั่วไป เช่นของ Omada การตั้งค่าตัว AP(Access Point) ขั้นสูงบางอย่างจะถูกตัดออกไป โดยจะทำเป็น Auto ทั้งหมด ผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไร ระบบจะจัดการเอง ส่วนถ้าเป็น Access Point ระดับ Enterprise Grade ก็จะยังคงมีให้ปรับแบบ Manual อยู่ใน Feature ที่มันลึกๆ ซึ่งถ้าปรับเกินค่ามาตราฐาน หรือ ไม่แม่นก็แนะนำให้ใช้ Auto ไปแบบ Omada ก็เพียงพอครับ
ในการเลือกใช้ Enterprise Grade จะ Protect ฝั่งไอทีดังนี้ครับ ถ้าสมมุติคุณเป็น IT บริษัทหนึ่ง และมีโจทย์ให้เปลี่ยน Wi-Fi ทั้งหมด 400 ตัว คุณจะเลือกอะไรระหว่าง
- Meraki by Cisco
- Omada by TP-Link
แน่นอนถ้าเลือก Meraki ของ Cisco เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันเกี่ยวกับระบบไวไฟ เช่น หน้าเว็บ Guest ไม่เด้งให้ Authen หรือ Wi-Fi หลุดทุก 30 นาที! เป็นเพราะอะไร ทางทีม IT ก็จะตอบผู้บริหารได้ว่าผมเลือก Wi-Fi ระดับ Enterprise ให้กับองค์กรแล้วนะ แต่ก็อาจจะมี Bug บางอย่างที่ Cisco ก็ไม่เคยเจอเช่นกันกำลังหาวิธีแก้ไขกันอยู่ แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้กับ Omada TP-Link คุณอาจจะถูกถามกลับมาว่า ทำไมมันเป็นแบบนี้ WiFi ห่วยจัง แล้วคำว่า "รู้งี้" จะวิ่งเข้ามาในหัวทันทีว่า ถ้าติดตั้ง Meraki ไปตั้งแต่แรกก็จบแล้ว
ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้มีแน่ถ้าออกแบบไม่ดีทั้งเรื่องระยะ, จำนวน และการเลือกรุ่นอุปกรณ์เหล่านี้ล้วนมีผลกระทบถึงกันได้ทั้งหมดถ้าการออกแบบไม่ดีตั้งแต่แรก ซึ่งหลักการออกแบบ WiFi อ่านได้เพิ่มเติม ที่นี่ ครับ
ในความคิดเห็นส่วนตัว ปัจจุบันนอกจาก Omada ของ TP-Link แล้ว ก็จะมีอีกหลายแบรนด์ตลาดกลาง ที่มี Solution WiFi On Cloud เช่น Ruijie, Peplink, UniFi, Enginius เป็นต้น ซึ่งแน่นอนแบรนด์เหล่านี้จะให้มาพร้อมกับ Feature ล้ำๆ ทันสมัย และจัดการง่ายอยู่เสมอ ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ใช้อย่างเราถ้ามีการติดตั้งระบบใหม่ให้กับบริษัท เจ้าตลาดไวไฟอย่าง Cisco, Aruba, Huawei, Ruckus ต่างๆ ก็จะต้องไม่กั๊ก Feature ใหม่ๆ อีกต่อไป เรียกได้ว่ามีเท่าไหร่ต้องจัดมาเต็มให้กับผู้บริโภคอย่างเราได้ใช้งาน ไม่เช่นนั้น ถ้าไม่มี Feature ที่ต้องการ เราก็อาจมีเหตุผลพอที่จะไม่เลือกใช้สินค้าของเจ้าตลาดได้นั่นเองครับ
มาทำความรู้จักอุปกรณ์ Omada
Omada Controller คืออะไร? มันคือ Hardware Box อันเล็กๆ ใช้สำหรับติดตั้งตาม Site ที่ต้องการ เพื่อให้ omada.tplinkcloud.com มองเห็น ทำให้สามารถเข้ามาจัดการอุปกรณ์ที่อยู่ในเครือข่ายของ VPN Router Omada ได้จาก Internet ซึ่งสามารถสั่งสร้าง SSID, Reboot, VLAN, Authentication, Security ต่างๆ จาก Cloud ได้เลย
สิ่งสำคัญ คือถ้าจะใช้ omada.tplinkcloud.com ก็จะไม่สามารถเข้าผ่าน IP Local ของ Hardware Box ได้ ถ้าไม่อยากจัดการผ่าน Cloud ก็ไม่ต้องเชื่อมต่อกับ Cloud ให้เข้าผ่าน IP ของ Hardware Box แทน
ภาพ Hardware Box Join เข้า Cloud
หมายเหตุ: การที่จะเอา Hardware Box Omada มา Join บน Cloud สำหรับในบทความนี้ยังไม่ได้อธิบายไว้นะครับ จะเป็นบทความถัดไป ซึ่งบทความนี้จะให้ทุกท่านได้เข้าใจก่อนว่า Omada คืออะไร
ไม่ซื้อ Controller Hardware Box ได้ไหม? ได้ครับ Omada มี Software Controller แบบติดตั้งบน Windows และ Linux ให้ Downloads ได้ฟรีๆ โดย Concept ของ Software จะต้องนำไปติดตั้งบนเครื่อง Windows หรือ Linux ที่เรามีอยู่แล้ว เช่น บริษัทมี VMware ESXi อยู่แล้ว ไม่อยากซื้อ Box เพิ่ม เพื่อลดการติดตั้งอุปกรณ์ ก็สามารถเตรียม OS ให้กับ Software แล้วนำมาลงได้เช่นกัน โดยไม่ต้องมี Hardware Box ครับ ซึ่งข้อดีของการมี Controller นั่นเพื่อให้เราจัดการได้แบบจุดๆ เดียว ควบคุมอุปกรณ์แบบรวมศูนย์ได้ทุกตัวครับ
Omada VPN Router คืออะไร? สำหรับ VPN (virtual private network) Router เป็นเหมือน Gateway ที่คอยบริหารจัดการเส้นทางออก Internet รวมทั้งสามารถทำตัวเองเป็น Interface VLAN, WAN Load Balance, VPN Server L2TP PPTP IPsec OpenVPN, Site to Site , ทำ Authentication Portal เช่น
- ต้องกดถูกใจ Facebook ก่อนถึงใช้เน็ตได้
- ใส่ IP RADIUS Server เพื่อไปใช้ชื่อจาก Active Directory ได้
- สร้าง Voucher ทีละหลายๆ Account เตรียมไว้ให้แขกใช้
- สร้าง Form Survey ให้ลูกค้ากรอก Form ให้เราก่อน ถึงจะใช้เน็ตได้
- มี Feature ส่ง SMS OTP ยืนยันตัวตน และสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ผ่านเว็บ Twilio มีความปลอดภัยสูงแต่มีค่าใช้จ่าย 1 บาทต่อ 1 SMS
โดยแต่ละวิธีก็สามารถกำหนดระยะเวลาการใช้งานได้ตั้งแต่ นาที ไปจนถึง หลายปี และหน้าตา Web UI Omada ก็ให้เรา customize ได้เองอย่างเต็มที่ไม่มีกั๊กแถมมี Template ให้ 1 อันเราจะได้แก้ไขหน้าตาได้เร็วขึ้นหน่อย
Omada EAP คืออะไร? มันคือ Access Point รุ่นต่างๆ ของ TP-Link มีขายตั้งแต่รุ่นเริ่มต้น Wi-Fi 4 300Mbps Port Fast Ethernet ไปจนถึง Wi-Fi 6 5000Mbps Port 2.5Gigabit Ethernet แน่นอน Wi-Fi 4 มันหมดยุคไปแล้วเพราะให้เทคโนโลยีที่ต่างกันมากเมื่อเทียบกับ Wi-Fi ปัจจุบัน ฉนั้นเวลาเลือกซื้อ Access Point รุ่นต่างๆ ควรมีเทคโนโลยีอย่างน้อยดังนี้
- Beamforming คือ เทคโนโลการบีบช่องสัญญานให้ Focus ไปยังอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ ทำให้ผู้ใช้ Wi-Fi มีค่า Throughput ที่มากขึ้น การรับ-ส่ง สัญญานดีขึ้นอย่างมาก หรือ ให้มองเหมือนไฟฉายที่หมุนแบบให้ไฟกระจายอยู่ พอหมุนไปอีกทางเพื่อ Focus วัตถุนั้นๆ ก็จะเห็นชัดเจนมากขึ้น โดย Feature นี้ฝั่งผู้รับไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ Beamforming เหมือนฝั่งส่งก็ได้ เพราะ Beamforming มันปล่อยแบบ Impact เข้ามาเลย ผู้รับมีแต่จะได้สัญญานที่แรงขึ้นในการใช้งาน
- Band Steering คือ เทคโนโลยีที่คอยเลือกสัญญานที่ดีที่สุดให้กับเรา เช่น Wi-Fi ปล่อย 5GHz กับ 2.4GHz เราก็สามารถใช้ Feature นี้ตั้งค่าได้ว่าจะให้ Prefer สัญญานไหนก่อน เช่น ให้เกาะ 5GHz ก่อนเสมอ แต่ถ้า 5GHz มันเกินระยะใช้งาน ระบบ Band Steering ก็จะมองหาสัญญานที่ดีที่สุดเช่น 2.4GHz เพื่อให้เรา Switch มาใช้งานได้ต่อเนื่อง
- MU-MIMO คือ เทคโนโลยีการใช้เสาปล่อยสัญญานให้ช่วยกันปล่อยสัญญานออกไปพร้อมๆ กัน ทำให้อัตราการส่งข้อมูลออกไปนั้นทำได้เร็วขึ้นหลายเท่าในเวลาเดียวกัน เช่น ในบ้านใช้งาน Wi-Fi กันอยู่ 10 คน ถ้าเป็น Wi-Fi ที่ไม่มี MU-MIMO ก็จะปล่อยสัญญานไปทีละคนวนๆ กันไป ทำให้เกิดเรื่องความกระตุกเข้ามา เล่นเกมส์มีค่า Latency เพิ่มขึ้นอย่างมากจนเล่นไม่สนุก แต่ถ้า Access Point มี MU-MIMO เข้ามาช่วยเมื่อไหร่ ปัญหาเหล่านี้จะเกิดขึ้นน้อยมาก เนื่องจาก Access Point นั้นช่วยกันส่งสัญญานอย่างเต็มที่ จนไม่เกิดคอขวดบนระบบอีกต่อไป ฉนั้นถ้าจุดที่เราให้บริการ Wi-Fi มีผู้ใช้หนาแน่นมาก เราควรเลือกใช้ Wi-Fi ที่มีเสา 8X8 MU-MIMO ไปเลย หรือ จะติด Wi-Fi 2 ตัวใกล้กันหน่อยก็ได้ แต่การทำแบบนี้จะต้องมีวิศวกรเครือข่าย (Network Engineer) เข้ามา Implement ระบบให้จะดีที่สุดครับ
- OFDMA คือ (Orthogonal Frequency Division Multiple Access) ให้มองแบบนี้ว่า มันคือการส่งข้อมูลออกไปทันที เช่น user1 เปิด Youtube อยู่ user2 กำลังเล่นเกมส์อยู่ สัญญานที่ Access Point ส่งไปหา user2 สามารถรวม Package ของ user1 Youtube ส่งมาให้กับ user1 ได้ด้วย
ซึ่งถ้าเป็น OFDM แบบเดิมจะแยกการส่งชุดข้อมูลของใครของมัน เช่น user1 กับ user2 Package ที่ส่งออกมาจาก Access Point จะไม่สามารถฝากกันมาได้ ต้องต่างคนต่างส่งเท่านั้น ทำให้เทคโนโลยี OFDMA แบบใหม่นี้จะทำให้การใช้งานของผู้ใช้ไหลลื่นมากยิ่งขึ้น
Wi-Fi 6 Wi-Fi7 ให้ความเร็วมาถึง 5000-40000Mbps ทำไม? ให้มองแบบนี้ครับ Wi-Fi นั้นถูกออกแบบมาให้สำหรับใช้งานหลายๆ 10 - 200 คนพร้อมๆ กัน ฉนั้น 5000-40000Mbps ที่ให้มามันจะหมายถึงเราได้ท่อส่งสัญญานทางอากาศที่ใหญ่มาก(แต่ไม่ควรเกิน 80 เมตร) ซึ่งถ้าเทียบกับสาย LAN ก็เหมือนใช้สาย CAT6 CAT7 ในการเชื่อมต่อกัน ฉนั้นเมื่อเรามีท่อน้ำขนาดใหญ่ข้อมูลที่ส่งไปยังผู้ใช้ก็จะไม่ถูกลดทอนมากขณะใช้งานนั่นเองครับ แต่ถ้าใช้งานคนเดียวคุณก็จะวิ่งได้เต็ม Bandwidth ที่เค้าเครมไว้แหละครับ ทั้งนี้ ตัวรับ ตัวส่งสัญญานจะต้องมีมาตราฐานเดียวกันด้วย แล้วถ้าอยากจะทดสอบ Speed ไม่ใช่ไปทดสอบตามเว็บ Test Speed Internet นะครับ ในส่วนของ Speed 5000Mbps ส่วนใหญ่จะทดสอบด้วยการโยนไฟล์หากันใน Network เท่านั้น ยกเว้นคุณจะเป็น ผู้ให้บริการ Internet ที่อยากทดสอบ Speed Internet ผ่าน Wi-Fi ก็เพียงเปิดท่อ 100Gbps ก็จะสามารถ Test Speed ทดสอบความเร็วได้เลย
TP-Link JetStream คืออะไร? มันคือ Switch ทั่วไป ถ้าเมื่อก่อนก็จะเป็นตระกูล SOHO Switch เป็นหลัก แต่ปัจจุบัน TP-Link มีการพัฒนา Switch อย่างต่อเนื่องแต่ยังอยู่ในระดับกลางๆ Uplink 10GbE อยู่ ซึ่งในอณาคตถ้า Cisco, HPE ยังขายกันแพงๆ แบบกั๊ก Feature อยู่ ผู้ใช้ระดับองค์กรก็จะหันมาเลือกใช้ Switch Layer 2, Layer 3 เช่น JetStream หรือที่มาแรงเลยช่วงนี้จะเป็น Switch ของ Huawei Enterprise ที่ช่วงหลังๆ หลายๆ องค์กรก็ต่างหันมาใช้กันเยอะมากเนื่องจากตั้งค่าไม่ยาก และราคาถูก แถมเป็นสินค้าระดับ Enterprise
สรุป Omada Solution ของ TP-Link น่าใช้หรือไหม่ ถ้าพูด Feature กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ Omada มีอยู่แล้วนั้น สำหรับผมก็มองว่าค่อนข้างตอบโจทย์กับธุรกิจที่มีพนักงานประมาณ 20 - 1000 คน ก็ใช้งานได้อย่างสบายๆ ทั้งนี้จะใช้มากกว่านี้ก็ต้องไปดูข้อจำกัดของ Hardware ของ Omada ซึ่งบอกได้เลยว่ารับ Connection ได้สูงสุดถึง 15000 Clients ซึ่งถ้าดูจากสเปกของ Access Point อย่างเช่นรุ่น EAP 670 ก็รองรับจุดนึงไม่ต่ำกว่า 60 Device สบายๆ แถมสามารถตั้งค่าง่ายๆ เพียง 4 ขั้นตอน
- เสียบปลั๊กในไซต์งานและเชื่อมต่ออุปกรณ์ Omada Powered กับอินเทอร์เน็ต
- ลงทะเบียนอุปกรณ์ผ่าน Omada Cloud Dashboard ของคุณ
- อุปกรณ์จะรับไฟล์การกำหนดค่าจาก Cloud โดยอัตโนมัติ
- เพลิดเพลินกับการจัดการจากระยะไกล และการจัดการระบบคลาวด์
เพียงเท่านี้คุณก็จะมีระบบ Wi-Fi แบบที่ธุรกิจชั้นนำเลือกใช้ไว้ใช้ในบ้าน หรือ บริษัทได้เลยครับ
ขอบคุณครับ
ไม่มีความคิดเห็น