บทความล่าสุด

เน็ต MPLS - Lease Line - FTTX แตกต่างกันอย่างไร?

MPLS (Multiprotocol Label Switching)

โครงข่ายวงจรเสมือนเป็น LAN ผืนเดียวกัน

ถ้าพูดถึง Internet สำหรับองค์กร MPLS นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะยุค Digital นี้แล้วการให้ความสำคัญต่อการรับส่งข้อมูลของบริษัทต่างๆ ล้วนแต่ต้องสะดุดไม่ได้ เนื่องจากปัจจุบันแทบทุกบริษัทจะต้องใช้ Internet ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น รับส่งเมล, ค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต, ประชุมสัมมนาออนไลน์, สื่อโซเชียล และอื่นๆ ที่มีความจำเป็นในการใช้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยในบทความนี้จะมีอธิบายข้อแตกต่าง ของ Internet FTTx, Internet MPLS, Internet Lease Line เพื่อคลายความสงสัยต่างๆ และเป็นโจทย์ที่ท่านสามารถไปคิดต่อได้ว่าองค์กรเราควรเลือกใช้ Internet ประเภทไหนในการทำงาน

1. FTTx (Fiber To The X) เป็นโครงข่าย Fiber ที่วิ่งไปตามจุด หรือ Node ตามชุมชน หมู่บ้าน ที่ผู้ให้บริการหรือ ISP (Internet Service Provider) ได้ดำเนินการติดตั้งไว้ โดย x เป็นความหมายที่บ่งบอกว่ามีหลายๆ จุด หลายๆ บ้าน หรือ องค์กรใช้งานอยู่

ภาพที่ 1 Internet FTTx

    จะเห็นว่าการใช้ Internet แบบ FTTx จะเป็นการใช้แบบ Shared Bandwidth ร่วมกันกับบ้านหลังอื่นๆ ผ่านท่อ Fiber ท่อเดียว โดยตัวอย่างจะเป็นการใช้ท่อ 40GbE หรือ เรียกอีกอย่างว่า Transmission Media ซึ่งก็คือ Modules SFP+, QSFP+, OSFP และอื่นๆ ทำให้ถ้าบริเวณนั้นมี Home มากเท่าไหร่ การใช้งาน Internet ของ Service Provider เจ้านั้นพร้อมกันก็จะช้าลง กล่าวคือ รับ - ส่ง ข้อมูลได้ช้าลง คล้ายกับว่าเหมือนโดนเพื่อนรั้งเสื้อไว้อยู่ จะวิ่งเร็วๆ ก็วิ่งไม่ออก ซึ่งจะกลับมาเร็วอีกครั้งเมื่อเพื่อนบ้านหลังอื่นทำการ รับ - ส่ง ข้อมูลเสร็จแล้ว เราก็จะวิ่งได้โดยไม่ถูกรั้งเสื้อ 

    ซึ่งในการแก้ปัญหานี้จะทำได้ง่ายที่สุดคือเปลี่ยนบริการรายเดือนจาก Internet Service Provider เช่น 3BB, AIS, True, TOT เลือกตามสภาพความเหมาะซึ่งเราจะไม่รู้เลยนอกจากผู้ให้บริการว่าชุมชนนั้นใช้งานแออัดแค่ไหน แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะช้าแบบนั้นเสมอ เพราะโดยปกติ ISP จะให้บริการท่อตั้งแต่ 10GbE - 40GbE ณ ปัจจุบัน ถ้ากรณีท่อ 10GbE บ้านแต่ละหลังใช้งานท่อนี้อยู่ก็จริง แต่ท่อ 10GbE ยังไม่เต็ม ผู้ใช้งานตามบ้านจึงไม่รู้สึกว่าเน็ตช้า เช่น บ้าน A ทดสอบความเร็ว Internet อยู่ บ้าน B ก็ ทดสอบความเร็ว Internet อยู่ ด้วยความเร็วเท่ากันที่ 1GbE รวมทั้งคู่จะใช้งานอยู่ 2GbE ซึ่งก็ยังไม่ถึง 10GbE อยู่ดี จึงทำให้ในความเป็นจริงเราจะสามารถทดสอบความเร็วได้เต็มตลอดนั่นเอง แต่ถ้าเมื่อไหร่บ้าน 20 หลังทดสอบ Internet พร้อมกันที่ 1GbE แน่นอนจะดึงเน็ตกันทำให้ทดสอบได้แค่ 100-400 Mbps เท่านั้น เหมือนแย่งกันทดสอบ

สรุปข้อดีของ FTTx คือ
  1. ราคาถูก 1000Mbps/500Mbps ไม่เกิน 700 บาท ต่อเดือน
  2. ติดตั้งไว เลือกผู้ให้บริการได้หลากหลาย
  3. ขอ Fix Public IP ได้เพียง 1 IP แต่จ่ายเพิ่มค่ารักษา IP ไม่เกิน 2,000 บาท ต่อเดือน
  4. ท่อง Internet ทั้งใน และต่างประเทศในความเร็วสูง

สรุปข้อเสียของ FTTx คือ

  1. กรณีเน็ตใช้งานไม่ได้ โทรแจ้งได้รอประมาณ 1-2 วันทำการ 
  2. Router PON WiFi ที่แถมมาไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ
  3. ไม่มีสัญญา SLA 99.99% การันตีเน็ตไม่ล่ม แบบ Internet MPLS
  4. ไม่สามารถขอ IP Subnet ได้ จึงไม่สามารถให้บริการ DMZ ต่างๆ ภายในองค์กรได้

โดยรวมแล้ว บริษัทขนาดเล็ก-กลาง ก็สามารถใช้งาน FTTx ได้ โดยการใช้ SDWAN เข้ามาช่วยบริหารจัดการ Internet โดยการซื้อ FTTx ก็ให้ซื้อผู้ให้บริการต่างค่ายกันเช่น 3BB, AIS, TOT, True และนำมา Plug เข้า SDWAN Router หรือ Firewall เพื่อป้องกันกรณี Link FTTx เจ้าไหน Down ระบบ SDWAN ก็จะทำ SLA ไปเลือก Router เส้นอื่น ได้เช่นกัน โดยปกติ FTTx ไม่เหมาะกับนำมาทำ Zone ให้บริการของบริษัท แต่ในการทำ VPN Site TO Site ก็ยังสามารถใช้ FTTx ทำได้อยู่ แต่ Network Engineer น้อยคนที่จะแนะนำให้บริษัทใช้งาน FTTx นั่นเอง อย่างน้อยๆ ก็จะมี MPLS 1 เส้นไว้กันพลาด


2. Internet MPLS (Multiprotocol Label Switching) เป็นโครงข่าย Fiber ที่มีเสถียรภาพสูงสุดในการให้บริการปัจจุบันเมื่อนึกถึง Internet MPLS อยากให้มองแบบนี้ครับ โครงข่าย MPLS เปรียบเสมือนโครงข่ายส่วนตัว เหมือนเราลากสายแลนจาก จุด A ไป จุด B แบบนั้นเลยครับ Network จะเป็นวงเดียวกันเลย เช่น Site A IP 192.168.20.1/24 || Site B IP 192.168.20.2 ซึ่งทั้ง 2 สามารถ Ping หา Private หากันเจอด้วย ส่วนภายในจะไปแบ่ง VLAN ทำ Routing เพิ่มก็สามารถออกแบบได้เองเลย ในส่วนของตัวอย่าง Router ที่สามารถทำ MPLS ได้ ของ Cisco จะเป็นรุ่น ASR, ISR, Catalyst และแน่นอน ผู้ใช้งาน หรือ บริษัททั่วไปไม่สามารถเดินสายตามสายไฟ หรือ ใต้ดิน ได้เอง ต้องได้รับใบอนุญาติ จาก กสทช. เท่านั้น ถึงจะมีสิทธิ์วางโครงข่าย Fiber ของตัวเองได้ เพื่อจัดสรรโครงสร้าง MPLS ของตัวเองไปให้บริการกลุ่มเป้าหมายของตน โดยผู้ให้บริการโครงข่ายดังๆ ในประเทศมีดังนี้

ซึ่งหลายๆ เจ้าที่กล่าวมา ปัจจุันโครงข่ายที่มีความทันสมัยอันดับต้นๆ ที่เหล่า Engineer หลายท่านแนะนำมา แถมยืนหนึ่งเรื่องบริการหลังการขาย คือบริษัท KIRZ Internet Thailand ท่านผู้อ่านจะสังเกตุได้จาก Web Site ที่มีการแนะนำสินค้าอย่างชัดเจนผู้เขียนอ่านแล้วยังชอบเลย อีกทั้ง KIRZ เมื่อดูจากประวัติที่ก่อตั้งมายาวนานตั้งแต่ปี 2538 โดยดำเนินกิจการโครงข่ายมาโดยตลอด ปัจจุบัน KIRZ ได้ Update โครงข่ายของตัวเองใหม่ทั้งหมด เรียกได้ว่าท่อส่งโครงข่าย MPLS - Version  Modules ต่างๆ ได้ถูก Upgrade ให้รองรับถึง 100Gbps ต่อ Node ซึ่งเจ้าอื่นๆ จะให้บริการสูงสุดที่ประมาณ 1Gbps - 40Gbps ต่อ Node ณ ปัจจุบัน 2565 มีเพียงไม่ถึง 2 เจ้าที่ Update อุปกรณ์ให้ทันสมัยได้ไวขนาดนี้

ภาพที่ 2 Internet MPLS

MPLS ทำงานยังไง?

เป็นการใช้ Protocol ชนิดหนึ่งซึ่ง Config บน Switch โดยจะแปะ Label ที่ Router ลูกค้าเพื่อไปคุยกับปลายทางที่ต้องการ โดยหลักที่นิยมใช้จะมีดังนี้ 

  • L2 VPN (Layer 2 Virtual Private Network) ความแตกต่างคือ L2VPN จะเป็นการทำให้ 2 Site รู้จักกันเปรียบเสมือนเป็นสายแลนวงเดียวกัน ทำได้ 2 แบบคือ
    • Point to Point = จาก Site A ไป B เหมือนแลนวงเดียวกัน
    • Point to Multipoint  = จาก Site A ไป B และ C เหมือนแลนวงเดียวกัน
  • ส่วน L3VPN คือ Fully mesh service จะไม่ค่อยนิยมได้ใช้สักเท่าไหร่ เนื่องจากเป็นการแลกเปลี่ยน Routing กับ Service Provider หรือเรียกได้ว่า L3VPN เหมือนสร้างเส้นทาง Routing สำรองไว้ทุกช่องทางแบบไม่มีทางล่ม ซึ่งค่าใช้จ่ายก็จะสูงขึ้นมา และมีการ Config ที่ซับซ้อนในฝั่งของ Service Provider

 

MPLS ออก Internet ยังไง

    ปกติโครงข่าย MPLS จะไม่สามารถออก Internet ได้เอง MPLS เป็นการแปะ Label Protocol ไว้สำหรับจัดการเชื่อมเครือข่ายกับสาขา หรือ เชื่อมเราไปหา Service Provider เท่านั้น การทำ Config Routing ชนิด OSPF, ISIS, BGP ที่ Service Provider ทำไว้ต่างหากที่ทำให้เราสามารถใช้งาน Internet ได้ แค่เราเข้าไปปลั๊กเข้าระบบก็จะสามารถใช้งาน Internet ได้ทันทีตาม Bandwidth ที่เราเช่าใช้ 


MPLS เหมาะกับใคร?

  1. องค์กรที่ต้องการ Internet ประสิทธิภาพสูงที่ไม่มีการ Down Time มีการันตี SLA 99.56% ขึ้นไป
  2. องค์กรที่ต้องการให้บริการด้าน DMZ เช่น Web Server, File Server, Mail Server, Live Stream เป็นของตัวเอง 
  3. องค์กรที่ทำธุรกิจผ่านระบบ Cloud เช่น Google Work Space, Microsoft 365, Logistic, CRM, ERP On Cloud, Multimedia, Online Marketing, Teleconference
ข้อดีของ MPLS
  1. การันตี Uptime 99.56% ขึ้นไป มีลิงค์สำรองให้บริการ
  2. มีทีม NOC Monitor 24 ชม. เกิดเหตุเสีย จะแจ้งลูกค้าทันที แต่ก็ยังใช้ Link สำรองได้อยู่จนกว่าจะ Link หลักจะซ่อมเสร็จ 
  3. มีค่า Delay ต่ำเหมาะแก่การใช้งานทั้งในและต่างประเทศ ให้อัตราการ รับ - ส่ง ที่เร็วกว่า เรียกได้ว่า ถ้าเปรียบ FTTx เป็นรถ Sport ตัว Internet MPLS ก็จะเหมือนรถไฟที่มีความเร็วเท่ารถ  Sport ถึงที่พร้อมกันแต่แบกผู้โดยสาร (Package) ได้ดีกว่า
  4. ได้ชุด Public IP ทั้ง Subnet ตั้งแต่ 8 ขึ้นไปตาม Package
  5. ไม่มีข้อจำกัดในการเดินสาย สามารถขอใช้งานได้ทั่วประเทศไทย

ข้อเสียของ MPLS

  1. ราคาสูงกว่า Internet FTTx หลายเท่า
  2. ให้ปริมาณ Bandwidth ที่น้อยกว่าเน็ต FTTx เมื่อโหลดแข่งกันแน่นอน FTTx เสร็จก่อน เพราะให้ Bandwidth มากกว่า แต่ FTTx อย่าลืมว่าแชร์กับบ้านอื่นๆ ด้วยและอาจจะมีจังหวะ Internet Down โดยไม่แจ้งล่วงหน้า

 3. Internet Lease Line (สุดท้าย) วงจร Lease Line กับ MPLS เป็นวงจรแบบเดียวกันเช่าใช้เหมือนกันเดินสายแยกเข้า Node เหมือนกัน ต่างกันคือ Protocol ในการสื่อสาร โดยค่าพื้นฐานในการตั้งค่าของ Cisco จะเป็น High-Level Data Link Control หรือ การห่อหุ้ม Protocol แบบ Encapsulation hdlc และยืนยันความปลอดภัยต้นทางปลายทางด้วย ppp authentication PAP and CHAP 


Lease Line
มีข้อจำกัด คือ ไม่ยืดหยุ่น ผู้ให้บริการจึงไม่นิยมนำเสนอขายในรูปแบบ Lease Line แต่จะเรียกเป็นชื่อเดียวกันไปเลยคือ MPLS Lease Line เพราะเป็นการเชื่อมต่อแบบ Site To Site ตรง คล้ายๆ กัน



ขอบคุณครับ

ไม่มีความคิดเห็น