บทความล่าสุด

Private Cloud - สิ่งสำคัญใกล้ตัว ที่ไม่ควรมองข้าม

Private Cloud - Private Server คืออะไร

What is private cloud

ปัจจุบันวงการ IT (information technology) จะได้ยินคำนี้บ่อยมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากหลายๆ บริษัทต้องการลดค่าใช้จ่ายรายเดือน และยังต้องการคุณภาพ และความปลอดภัยของข้อมูลที่มากยิ่งขึ้น อีกทั้งบริษัทที่ใช้ KPI (Key Performance Indicator) เป็นตัวชี้วัดกับฝ่าย IT แล้วหละก็ Private Cloud นี่แหละจะเข้ามาตอบโจทย์เรื่องของการลดค่าใช้จ่ายภายในองค์กรได้เป็นอย่างดี หรือเช่นถ้าบริษัทมี auditor คอยสอบ ISO หรือ CSA Star เพื่อต่ออายุใบรับรองต่างๆ การเก็บข้อมูลห้อง Server ภายในบริษัทก็จะมีการลงทุนที่สูงตามมาเช่นกันโดยเฉพาะเรื่องการ Black up และการเรียกข้อมูลกลับภายในเวลาที่กำหนดตามสัญญาการจ้างงาน โดยแยกเป็น 2 หัวข้อดังนี้
  1. Recovery Point Objective (RPO) คือระยะเวลาที่ยอมเสียข้อมูลไปได้ เช่น เราตั้ง Backup ช่วง 6:00AM แต่พอถึงเวลา 11:00AM ไฟล์เสียหาย ซึ่งแปลว่าช่วงเช้าที่ทำงานมาตังแต่ 08:30 - 11:00 จะไม่ถูก Backup เราต้องย้อนกลับไปช่วงเวลา 6:00AM ที่ Backup ล่าสุด ฉนั้นบริษัทแต่ละที่จะกำหนด RPO ไม่เหมือนกันโดยทั่วไปก็ยอมเสียได้ 10 ชม บางที่โหดหน่อยก็ RPO 2 นาทีต้องเรียกกลับได้
  2. Recovery Time Objective (RTO) คือการทำให้ระบบกลับมาใช้งานได้อีกครั้งให้พนักงานใช้งานได้ตามปกติภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น บริษัทตั้งไว้ภายใน 4 ชม. หลังจากที่ระบบเสียหาย IT ก็จะต้องนำขึ้นให้ทันภายใน 4 ชม.
นี่แหละครับคือความหน้ากลัวที่ Private Server กำลังแบบรับอยู่ บทความนี้จึงอยากให้เป็นข้อคิดกรณีเกิดเหตุขึ้นมาจริงๆ คุณจะแก้ไขได้ทันหรือไม่ ระบบ Recovery ทำได้จริงรึเปล่า เหล่านี้ต้องทดสอบบ่อยๆ ครับ เพราะถ้าบริษัทไหนเข้มงวด IT อาจถูกหักเงินเดือนได้เลยครับ

ในส่วนบริษัทไหนที่มี BCP Plan (Business Continuity Planning) ระบบก็จะต้องมีผู้ดูแลรับผิดชอบ ซึ่งไม่คุ้มแน่นอนที่จะจ้าง Engineer มาดูแลโดยตรงเพราะมันเหมือนกับการฝากความหวังไว้กับคนๆ เดียว ซึ่งบริษัทสมัยนี้ยอมจ่ายค่า Outsource ในราคาที่สูงขึ้นเพื่อแรกกับการแบกความรับผิดชอบในรูปแบบบริษัทไม่ใช่รูปแบบคนๆ เดียวอีกต่อไป ซึ่งสิ่งที่จะมาแก้ปัญหาเหล่านี้ให้กับบรรดา หัวหน้าแผนกไอที ได้ดีที่สุดก็คือการเลือกใช้ ผู้ช่วยไอที (Manage Service) เช่น บริษัท KIRZ เคิร์ซ มีการให้บริการแบบครบวงจรก็จะช่วยงาน IT ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

แต่อย่างไรก็ตามการขึ้น Private Cloud นั้นจะเหมาะกับ Application ที่ไม่มีการขยายตัวของข้อมูลเยอะเกินไป เช่น บางบริษัทเก็บไฟล์ วีดีโอ, ไฟล์หนัง, ไฟล์เพลง, ตัดต่อ, 3D ก็จะไม่เหมาะกับการใช้ Private Cloud ซักเท่าไหร่เนื่องจากราคารายเดือนก็จะสูงตาม ซื้อ NAS มาใช้จะตอบโจทย์กว่า แต่ถ้าบริษัทไม่มีปัญหาเรื่องงบประมาณก็อยากแนะนำให้ขึ้น Private Cloud ไปเลยครับเพราะมันตอบโจทย์ ISO และ CSA Star ทั้งหมดอยู่แล้ว


ภาพ Private Server

จากภาพ Private Server เป็นโครงข่ายที่ผมได้วาดขึ้นเพื่ออยากสื่อให้ผู้อ่านที่นึกไม่ออกว่า Private Server คืออะไรกันแน่ได้เข้าใจง่ายขึ้น จริงๆ แล้วถ้าจะให้รวมทั้งหมดจะมีเยอะมาก เช่น ระบบ Alarm ไฟ, ระบบถังดับเพลงขนาดใหญ่, ระบบเตือนความชื้น, ระบบตรวจจับควัน, ระบบกล้อง CCTV เหล่านี้มีค่าบำรุงรักษารายปีไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท ส่วนค่าไฟรายเดือนรวมๆ ก็ไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท ซึ่งจะดีกว่าไหมถ้าให้คนที่มีความรู้เข้าไปบริหารจัดการให้ใหม่ ออกแบบให้ใหม่ บริษัทจะได้ปิดห้อง Server ไปเลย

ในส่วนของเส้นประด้านในซ้าย จะเป็นส่วนของอุปกรณ์เครือข่ายที่แน่นอนว่า เมื่อเราย้ายไป Private Cloud อุปกรณ์เหล่านั้นจะยังคงใช้งานตามเดิมจะมีแต่ทำ Routing เพิ่มบน Firewall และ Core Switch เท่านั้น และจะมีสิ่งที่เพิ่มมาไม่กี่อย่างเช่น Router ของผู้ให้บริการที่ใช้สำหรับเชื่อม Link MPLS เป็นต้น

ในส่วนของเส้นประด้านในขวา นั้นคือ Server, Storage, UPS, Generator, Air conditioner เหล่านั้นห้อง Server ทั่วไปขนาดกลางๆ จะถูกวางไว้ประมาณนี้ และแน่นอนการย้ายไป Private Cloud จะทำการโยกย้าย VM (Virtual Machine) ต่างๆ จากห้อง Server ไปยัง Private Cloud ที่เราเช่าใช้

สรุป Private Server ก็คือทุกอย่างที่เราต้องจัดซื้อขึ้นมาเอง ติดตั้งระบบเอง ต้องมีคนดูแลอย่างใกล้ชิด ถ้าคนดูแลลาออกก็จะเป็นปัญหาของการเปิด Server ทิ้งไว้แบบมั่วๆ เปลืองไฟโดยที่ผู้บริหารก็ไม่รู้เพราะ IT ก็ไม่รู้ว่า Server ตัวนี้เปิดไว้ทำไม ไม่กล้าปิด หนำซ้ำต้องลงทุนซื้อซ้ำทุก 5 ปีในราคาที่สูงมาก การนำไปขายต่อก็ไม่ได้ราคา



สิ่งที่ IT หลายคนกังวล เกี่ยวกับ Private Cloud
  1. จะย้ายได้ไหม ย้ายยังไง?
  2. Client จะเชื่อมต่อ Application บน Private Cloud อย่างไร?
  3. กรณีอยู่ที่บ้านจะใช้งานอย่างไร?
  4. ถ้าย้ายไป Private Cloud แล้วสามารถปิดแอร์ได้ไหม?
  5. มี AD อยู่แถมบาง Application เช่น SAPB1 ต้องเชื่อม AD เท่านั้นถึงจะใช้งานได้ จะย้ายไป Private Cloud ได้ไหม
ตอบข้อ 1 ปัจจุบันการใช้งาน OS ส่วนใหญ่จะถูกติดตั้งเป็น Virtual Machine ซึ่งเหล่านี้เราสามารถ Export ไฟล์ออกมาแล้วจับโยนขึ้น Private Cloud ของผู้ให้บริการนั้นๆ ได้เลย ส่วนถ้าเป็นเครื่องจริงที่ไม่ลงผ่าน VM ก็จะใช้ Tools ของ Private Cloud ทำการ Convert System ทั้งลูกขึ้นไป ระบบก็จะแปลงเป็น VM และสามารถใช้งานได้ตามปกติ

ตอบข้อ 2 การเชื่อมต่อระบบไปยัง Private Cloud ในการตั้งค่าจะมีเพียงเพิ่ม Routing ที่ Layer 3 และขา Interface บน Firewall เท่านั้น ในส่วนของ VLAN ที่ใช้งานอยู่ก็จะวิ่งไปคุยกับ Cloud ได้เลย โดยพนักงานในบริษัทไม่ต้องเกาะ VPN ใดๆ เสมือนเป็นวงๆ เดียวกัน แต่จะทำให้เกาะ VPN ก่อนแล้วใช้งานก็ได้เช่นกัน

ตอบข้อ 3 ต้องเชื่อมต่อ VPN ด้วย Software ที่ทาง Private Cloud ส่งให้เราโหลดและติดตั้งและใส่ user/pass ก็จะสามารถคุยกับ VM ของเราที่อยู่บน Private Cloud ได้ทันที

ตอบข้อ 4 เรื่องนี้ไอทีหลายๆ คนยังเข้าใจว่าอุปกรณ์ Network & Server ระดับ Business ต้องให้ความเย็นกับมันตลอดเวลา ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดนะครับ ในอุปกรณ์พวกนี้สามารถทนความร้อนได้ถึง 40 - 90 องศา ซึ่งในอุณหภูมิห้อง Server ทั่วไปจะอยู่ที่ 32-37 องศา โดยประมาณ เมื่อเราย้าย Server ไป Private Cloud แล้วก็จะเหลือแต่ UPS, Switch, Router, IP Phone ซึ่งเหล่านี้มีพัดลมในตัวทำให้ความร้อนอุปกรณ์จะอยู่ที่ประมาณ 30 กว่าองศาเท่านั้น ซึ่งวิธีระบายความร้อนจะห้อง Server ก็คือติดพัดลมระบายอากาศ คราวนี้ก็ไม่ต้องใช้แอร์เลยแหละครับ

ตอบข้อ 5 ข้อนี้เป็นข้อที่ทำให้ IT หลายๆ คนไม่กล้าย้ายไป Private Cloud เพราะไม่ชำนาญเรื่อง Config Routing ซึ่งในความเป็นจริง VM เราย้ายทั้งก้อน ฉนั้นที่ผมจะแนะนำคือต้องมีรู้ทางด้าน Firewall Routing และการทำ Site to Site VPN เพียงให้ Network มองเห็นกันก็สามารถใช้งาน AD กำหนดสิทธิ์ได้แบบฉบับตอนอยู่เป็น Private Server เลยแหละครับ ส่วนถ้าจะมองหา Manage Service เก่งๆ ผมยังคงแนะนำบริษัท KIRZ เพราะมีความเชี่ยวชาญสามารถจบปัญหาให้ผู้อ่านได้แน่นอนครับ




ภาพ Private Cloud

สำหรับภาพ Private Cloud จะแสดงให้เห็นว่าส่วนการทำงานของ Network Equipment ยังคงต้องใช้อยู่ ส่วนนั้นจะเรียกว่า Black Office (หลังบ้าน) โดยจะเห็นว่าฝั่งสำนักงานจะมี Router MPLS เพิ่มเข้ามาอีก 1 ชิ้นไว้คุยกับผู้ให้บริการ Cloud Service ถามว่าไม่เพิ่มได้ไหม ได้ครับ แต่อยากให้กลับไปอ่านบทความ MPLS ก่อนครับว่าทำไมบริษัทขนาดเล็ก ถึง ขนาดใหญ่ ควรใช้เน็ต MPLS ในการทำงาน นั่นก็เพราะ Connectivity ไงครับที่สำคัญที่สุด MPLS จะต้องไม่มี Downtime หรือมี SLAที่ 99.99% เรียกได้ว่าใน 1 ปีสามารถ Downtime ได้ประมาณ 8 ชม. เท่านั้น IT จึงหมดความกังวลเรื่องโครงข่ายไปได้เลยเมื่อต้องขึ้น Private Cloud

สรุป ข้อดีของ Private Cloud เมื่อเทียบกับ Private Server
  1. มีความปลอดภัยกว่าในการเก็บรักษาข้อมูลเพราะมีการ Backup หลายขั้นตอนและต่างประเทศ
  2. ทำงานได้จากทุกที่ทั่วโลกผ่านท่อ VPN ส่วนตัว
  3. IT ไม่ต้องกังวลกับระบบล่มอีกต่อไปเพราะมี SLA 99.99%
  4. ใช้ตอบคำถาม Audit ได้ทั้งหมดเกี่ยวกับ ISO หรือ CSA Star
  5. สามารถเรียก Recovery กรณีไฟล์เสียหาย, Database พัง หรือไปเผลอลบไฟล์ผิด ได้อย่างทันทีเพราะมีการ Backup ทุก 15 - 30 นาที จะไม่เหมือนเดิมที่ตองทำทุกเที่ยงคืน
  6. มีทีมงาน Private Cloud คอย Provision OS ให้พร้อมใช้งาน ทุกระบบ
  7. มีทีมงาน NOC Support ตลอด 24*7 / 365 วัน
  8. มีระบบป้องกัน Ransomware attack
  9. IT สามารถบริหารจัดการ VM ได้ทั้งหมด และทำให้มั่นใจว่า VM นั้นๆ ใช้งานอยู่จริงๆ ไม่ใช่เป็นการเปิดเครื่อง Server เปล่าๆ โดยที่ไม่รู้ว่าเครื่องนั้นคืออะไร
  10. ในระยะเวลา 1 ปีหลังจาก Implement เสร็จ บริษัทจะมีรายจ่ายน้อยลง เพราะไม่ต้องเสีย ค่าแอร์, ค่าไฟ, ค่าเปลี่ยน Server ใหม่, ค่าบำรุงรักษาห้อง Server และอื่นๆ ทำให้ IT ได้รับ OKR เต็มๆ 
  11. สามารถใช้ Windows License ได้ไม่จำกัดจำนวน User CAL (Client Access Licenses) หรือ Device CAL ซึ่งคุ้มค่ามาก เช่น บริษัทใช้ AD 300 คน ตามหลักที่ถูกต้องจะต้องซื้อ User CAL 300 License ซึ่งตก License ละประมาณ 1,500 กว่าบาท ถ้า 300 คนใช้ AD รวมก็ 450,000 กว่าบาท และใช้ได้กับ Server version นั้นๆ อย่างเดียว ถ้ามีการ Upgrade Windows Server ก็จะต้องซื้อเพิ่มในราคาปัจจุบัน เพราะไม่สามารถใช้ User CAL ร่วมกับ Version เก่าได้ แต่ถ้าใช้ Private Cloud ไม่ต้อง Focus เรื่องนี้เลย เพราะทาง Cloud จะจัดการให้หมดกล่าวคือผู้ใช้สามารถใช้ได้ไม่จำกัดจำนวน User CAL อีกต่อไป
สรุป ข้อเสียของ Private Cloud เมื่อเทียบกับ Private Server
  1. ในเรื่องของพื้นที่จัดเก็บข้อมูลหรือ Storage ยังมีราคาสูง กรณี ลูกค้าเช่าใช้เพื่อเก็บไฟล์ เช่น หนัง, ตัดต่อ, ภาพความละเอียดสูง, 3D, เพลง ก็จะยังไม่ตอบโจทย์สำหรับกลุ่มนี้สักเท่าไหร่ที่จะมาใช้ Private Cloud โดยหลักแล้วการจะใช้ Private Cloud จะเหมาะกับงาน DATABASE, งานเอกสาร, งาน ERP, CRM, Web Application, เป็นต้น
  2. Private Cloud จะไม่สามารถเพิ่ม - ลด Spec ของ VM ได้เอง จะต้องแจ้งบริษัทที่เช่าใช้ ให้ทำงานเพิ่มให้ แต่ก็มีบาง Private Cloud ที่ให้สิทธิ์ในการปรับ - ลด ขนาด VM ได้เองตาม Package ที่เช่าใช้
  3. ทุกอย่างของฝากไว้กับ Cloud การจะโยกย้ายไป Cloud ที่อื่นๆ ก็จะไม่สะดวกมากเท่าไหร่ ฉนั้นเลือกบริษัทที่ดีที่ผมแนะนำก็จะช่วงกรองได้ระดับหนึ่ง เพื่อให้ใช้บริการกับเจ้านั้นไปยาวๆ ครับ


สำหรับส่วนด้านล่างนี้จะเป็นของ Public Cloud ที่หลายคนยังสงสัย
 

Public Cloud คืออะไร? มันก็เหมือนกับ Private Cloud แต่ Public Cloud นั้นมีทีม Dev ระดับโลก ค่าตัวระดับโลก ที่คอยเขียน Web API เชื่อมต่อกับ Software หลังบ้านของตนเอง กล่าวคือเค้ามีคนเขียนระบบ Cloud เอง และเทพไปกว่านั้นคือสามารถเขียนคำสั่งให้ Web App สามารถเลือก Config ได้เองหลังจากเราสมัครสมาชิกจ่ายเงิน เรียกได้ว่าเป็น Automation เต็มรูปแบบ ซึ่งการเช่าใช้นั้นลูกค้าไม่ต้องโทรไปถามเลย คลิกๆ จ่ายเงินก็ใช้งานได้เฉย เรียกได้ว่าหลังบ้านของ Public Cloud นั้นเชื่อมต่อไว้ให้เสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้งาน

มีตัวอย่าง Public Cloud ไหม? Google Cloud Platform, Microsoft Azure, Huawei Cloud, Amazon Web Services

แล้วทำไมเราไม่ไปใช้ Public Cloud? โลกของ Public Cloud นั้นยังเหมาะกับ Programmer หรือ นัก Dev ops Kubernetes, Docker อยู่ ส่วน IT infrastructure ถ้าอยากไปใช้ Public Cloud จะต้องคิดคำนวณให้ดีกว่าปัจจุบันบริษัทมีงบพอไหม จำกัดต่อเดือนเท่าไหร่ บริษัททำงานแนวไหนถ้าแนว รับ - ส่ง ข้อมูลใหญ่ๆ ตลอดเวลา ไม่เหมาะแน่ๆ เพราะ Public Cloud คิดคำนวณจากพื้นที่และปริมาณ Traffic ที่วิ่ง เข้า-ออก ซึ่งบอกได้เลยว่า เห็นตอนเลือก Package เหมือนถูกกว่า Private Cloud แน่นอนนั่นตอนเลือก แต่พอ Bill มาอาจจะอยากเลิกใช้ก็ได้นะครับ

แล้ว Private Cloud ไม่จำกัด Bandwidth หรอ? ไม่จำกัด ปัจจุบันเริ่มต้นที่ท่อ 1Gbps ซึ่งค่อนข้างเพียงพออยู่แล้ว แต่ก็มี Private Cloud รองรับไปถึง 25Gbps แล้ว เนื่องจากลูกค้าบางรายต้องการ Read/Write ข้อมูลอย่างเร็วมากๆ เช่นพวก เว็บลงทะเบียน, เว็บจองตั๋ว เป็นต้น

สรุป ข้อดีของ Private Cloud เมื่อเทียบกับ Public Cloud
  1. มีความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวสูงกว่า Public Cloud ในแง่ของงานระบบ HR, ERP, CRM, Files Share, AD
  2. มีราคาถูกกว่า Public Cloud ในเรื่องการใช้งาน รับ - ส่ง ข้อมูลปริมาณมากๆ
  3. มีราคาถูกกว่า Public Cloud ในการเพิ่ม Storage
  4. มีผู้ให้คำปรึกษา 24 * 7 / 365 วัน เป็นชาวไทย
  5. มีความยืดหยุ่นคุยง่ายต่อรองราคากันได้เพราะผู้ทำ Private Cloud ก็คือคนไทย
  6. ให้ Traffic 1Gbps ขึ้นไป และไม่จำกัดการ รับ - ส่ง ข้อมูล
  7. เชื่อมต่อ Private Link ได้ง่ายผ่านโครงข่าย MPLS หรือ VPN
สรุป ข้อเสียของ Private Cloud เมื่อเทียบกับ Public Cloud
  1. ไม่สามารถสมัครสมาชิก เลือก Performance ใช้งานได้ทันทีแบบ Public Cloud
  2. ไม่เหมาะกับงานประมวลผล HPC (high performance computing) จำนวนหลายๆ Core หรือ หลายๆ GPU
  3. การจะเปลี่ยนแปลงเพิ่มลด Package จะต้องติดต่อผู้ให้บริการก่อนเสมอ


ขอบคุณครับ

ไม่มีความคิดเห็น