บทความล่าสุด

Ping คืออะไร ใช้งานอย่าไร?

ping คืออะไร?


รูปที่ 1

เรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่าย และมีประโยชน์สำหรับการตรวจสอบเครือข่ายว่ามีการเชื่อมต่ออยู่ไหม หรือ ถูกป้องกัน ping package(ห้าม ping) จาก Policies Rule ไหนอยู่รึเปล่า เจ้า ping นี้แหละที่จะเป็นเครื่องมือตอบกลับ(Reply) ให้เราได้ทราบว่า ต้นทาง และปลายทางนั้นเชื่อมต่อถึงกันได้ไหม และมียังมีทำงานอยู่รึเปล่า

จากรูปที่ 1

      command ping นั้นเป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแทบทุกระบบปฏิบัติการ และในตัวอย่างนี้ใช้ ping จาก microsoft windows ในการทดสอบครับ

คำสั่ง ping

      วิธีเรียกใช้งาน ping ให้เราไปที่ Start ช่อง Search พิมพ์ว่า command หรือ cmd เจ้า Command Prompt ก็จะขึ้นมาให้เรากดเข้าไป ก็จะได้หน้าจอดำๆ ตามภาพนั่นเอง



      เมื่อเราเรียกหน้าจอ command ขึ้นมาได้แล้ว โดยเบื้องต้นเราสามารถใช้คำสั่ง ping / เพื่อขอดูค่า help ของ command นั้นๆ เพราะยิ่งเราต้องจำคำสั่งเยอะมันจะทำให้เราจำไม่ได้บ้าง ลืมบ้าง tools help เหล่านี้จะช่วยให้เราใช้งานได้ง่ายขึ้นครับ


ตัวอย่าง ping# ping weprovider.com


คำสั่งนี้ ping จะ Reply From ให้เรา 4 ครั้ง โดยวิธีอ่านค่ามีดังนี้ครับ
  • ชุด ip 172.217.24.174 นั้นคือชุด ip ที่ google.com ใช้จดทะเบียน Domain name(DNS) นั่นเองส่วนถ้าเราอยากรู้ว่า ip ที่ google.com ใช้อยู่คือ ip อะไรเราก็สามารถใช้คำสั่ง nslookup ได้ในการตรวจสอบต่อไป
  • ค่า bytes=32 นั้นคือค่า buffer size ที่เรายิงออกไปจากเครื่องเราเป็นจำนวน 32bytes ซึ่งมีค่าน้อยมากๆ แต่ค่านี้สามารถปรับได้สูงสุดถึง 65500byte แต่ Switch, Router และ Server OS ใหม่ๆ จะ limit ค่า bytes เหล่านี้ให้โดยอัตโนมัติ และส่วนใหญ่จะไม่ให้เราส่ง buffer size เกิน 20000bytes ครับ
  • ค่า time=26ms Network Admin และ Network Engineer ส่วนใหญ่จะดูค่านี้เป็นหลักโดยเฉพาะถ้าเราติดตั้งเครือข่ายขนาดเล็กเจ้าค่า time นี้ควรมีค่าเท่ากับ time=1ms และไม่แกว่งขึ้น แกว่งลง เพราะถ้าเราต่อเครือข่ายขนาดเล็กแล้ว time วิ่งสูง เช่น time=229ms แล้วหล่ะก็อุปกรณ์ network หรือ ค่า config หรือ สายต่อพ่วงต่างๆ ของเราอาจมีปัญหาแน่นอนครับ ฉนั้นถ้าเราลอง ping ไปที่ ping 127.0.0.1 (เครื่องเราเอง) ค่า time ของเราจะเท่ากับ 1 แน่นอน และโดยปกติค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ time=40ms ซึ่งถือว่าปกติครับ
  • ค่า TTL=52 (Time-to-live) ค่า ttl คือ การนับจำนวนอุปกรณ์ที่วิ่งผ่านในภาษา network จะใช้คำว่า hops โดยเราจะรู้ว่าปลายทางที่เรา ping ไปหานั้นต้องผ่านอุปกรณ์กี่ตัว เราก็จะใช้ค่า TTL ในการนับ hops นั่นเอง และโดยปกติแล้วถ้าวิ่งผ่าน Switch 1 ตัว ค่า TTL จะอยู่ที่ TTL=64 และถ้ามีวิ่งผ่าน Switch อีก 1 ตัว ค่า TTL ก็จะลดลงเป็น 63 เรียกได้ว่ายิ่งค่า TTL สูงนั้นหมายถึงเราวิ่งผ่าน hops น้อย ยิ่งค่า TTL มากนั้นหมายถึงเราวิ่งผ่านอุปกรณ์เยอะครับ แต่ในส่วนของอุปกรณ์ cisco ค่า TTL นั้นจะสูงไปถึง 255 ซึ่งในส่วนนี้ผมคาดว่าวิศวะกรของ cisco คงออกแบบมาเพื่อให้รองรับต่อการใช้งานทั่วโลกเลยใช้ค่าเยอะขนาดนี้ครับ
สำหรับในส่วนนี้หวังว่าผู้อ่านจะเข้าใจเกี่ยวกับบทความ ping command มากขึ้นนะครับ ต่อไปก็จะเป็นคำสั่งที่เพิ่ม option มากขึ้นของ ping ที่ใช้เกี่ยวกับการตรวจสอบอุปกรณ์บนเครือข่ายครับ

ตัวอย่าง ping option 1
       

คำสั่ง# ping weprovider.com -t

      คำสั่งนี้หมายถึงการเลือก option ให้ ping นั้นทำงานตลอดเวลา กล่าวคือจะไม่หยุด ping ถ้าเราไม่กด ctrl+c ครับ คำสั่งนี้มีประโยชน์มากเกี่ยวกับการที่ต้องใช้ทดสอบค่า policies ต่างๆ บนอุปกรณ์ของเรา ว่าการตั้งค่าถูกต้องรึเปล่า และใช้เช็คขณะเรา config ว่าระบบสามารถเชื่อมต่อกันได้แล้วหรือยังเรียกได้ว่า ทำไปดูไป


ตัวอย่าง ping option 2


คำสั่ง# ping weprovider.com -l 60000 -t

      คำสั่งนี้หมายถึงการสั่งให้ ping ส่ง buffer size โดยไม่หยุดอย่างที่ผมได้กล่าวไปข้างต้นว่าโดยค่าสูงสุดที่สามารถส่งได้คือ 65500bytes แต่ถ้าดูจากรูปแล้วจะมีการเกิด Request timed out ขึ้นเนื่องจาก buffer size ที่เราส่งไปนั้นมีขนาดค่อนข้างใหญ่ทางฝั่ง server ที่คอยรับหน้าที่ Reply กลับมาให้เราจะเกิดการกระตุกเนื่องจากต้องตอบกลับ buffer size ขนาดใหญ่ให้กับเราครับ และโดยปกติค่า buffer size ที่ใช้ส่งเพื่อทดสอบระบบเครือข่ายจะใช้กันอยู่ที่ 2000bytes - 20000bytes เพื่อทดสอบว่า link internet ของเราสามารถตอบกลับ client ได้รวดเร็วหรือไม่อย่างไรครับ


ตัวอย่าง ping option 3


คำสั่ง# ping weprovider.com -r 9

      คำสั่ง ping -r เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับ show ip ที่ถูกบันถึกอยู่บน route record ภายในเครื่องของเรา และใช้ได้เฉพาะ ip version4 (IPv4) เท่านั้น นับเป็น Tools ที่มีประโยชน์ และเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วในการตรวจสอบ hops ที่วิ่งผ่านทั้งหมด แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด 100% โดยคำสั่งที่ใช้เช็ค hops จะเป็นคำสั่ง tracert เป็นหลักครับ



ขอบคุณครับ


ไม่มีความคิดเห็น