บทความล่าสุด

MTU คืออะไร?

maximum transmission unit (MTU)

MTU คือ หน่วยการส่งข้อมูลสูงสุด จะใช้ในรูปแบบการเชื่อมต่อผ่าน PPP ใน Windows 95 MTU เริ่มต้นคือ 1500 octets (8bit-byte) และยังคงใช้งานมาถึงปัจจุบัน โดยถ้า MTU มีขนาดใหญ่เกินไประบบส่งข้อมูลของคอมพิวเตอร์จะเกิดการแยกชิ้นส่วนก่อนส่งเพื่อให้เต็มความจุของ octets นั้นๆ เพื่อส่งข้อมูลไปยัง ISP ที่เราใช้บริการอยู่ แต่ถ้าข้อมูล MTU มีขนาดเล็กเกินไปไม่พอดีกับ octects นั้นๆ การส่งข้อมูลก็จะแบกพื้นที่ว่างเพื่อส่งไปยัง ISP ซึ่งถามว่าปัจจุบันมีความแตกต่างจนเห็นได้ชัดไหม ตอบได้เลยว่าแทบไม่เห็นผล เพราะคอมพิวเตอร์ปัจจุบันการ์ด NIC(LAN) ได้ถูกพัฒนาให้วิ่งเป็น Gigabyte(100MB/1GB) จาก Megabyte(10/100MB) แถมโครงข่าย Network ในปัจจุบันนั้นวิ่งด้วยความเร็วสูง(ใยแก้วนำแสง) ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่การใช้งาน Internet ต้องวิ่งผ่านสายโทรศัพท์ซึ่งเปรียบก็คือ ท่อมีขนาดเล็ก แถมแรงดันน้ำน้อย ทำให้การส่งช้ากว่าปัจจุบันเป็นอย่างมาก
ปัจจุบันค่า MTU ที่นิยมตั้งใช้งานกันคือ 576, 1300, 1492 และต้องไม่เกิน 1500 ตามกฏ ซึ่งเป็นค่า Default จากโรงงาน และค่าต่ำสุดที่สามารถตั้งได้คือ 68(bit-byte) ซึ่งอย่างที่ผมบอกไปคุณจะไม่เปลี่ยนแปลงค่า MTU นี้ก็ได้ เพราะตามทฤษฎีแล้วค่า MTU นั้นไม่ได้มีผลกระทบต่อทางระบบ Network ของเราโดยตรง เว้นเสียแต่คุณจะลองใส่ค่าน้อยๆ เพื่อใช้ทดสอบระบบครับ

อย่างไรก็ตามผมได้เขียนวิธีการหาค่า MTU ที่เหมาะสม ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเพื่อเติมเต็มประสิทธิภาพที่ขาดหายไปเพียงเสี่ยววินาทีไว้ในบทความนี้ มาเริ่มกันครับ

รูปที่ 1

ให้ผู้อ่านเรียกหน้าจอ command ขึ้นมาเลยครับ (วิธีเรียกหน้าจอ command)

คำสั่ง# ping weprovider.com -f -l 1464 (ต้องไม่เกิน 1500 ตามกฏ)
      
      จากรูปที่ 1 เราใส่ option -f คือเราขอส่ง Packet ไปยัง weprovider.com โดยไม่ต้องแยกชิ้นส่วน Packet ซึ่งจากเดิมถ้าโรงงานตั้งมาให้เราเป็น 1500 เวลาเราส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ออกไปทุกครั้งก็จะเกิดการแยกชิ้นส่วน Packet ทำให้ข้อมูลส่งช้าขึ้นกว่าเดิมนิดเดียวครับ

รูปที่ 2
คำสั่ง# ping weprovider.com -f -l 1465 (ต้องไม่เกิน 1500 ตามกฏ)

      จากรูปที่ 2 คราวนี้ผมเพิ่มค่า MTU จากเดิม 1464 ผมเพิ่มเป็น 1465 แล้วลอง ping Packet ออกไปเหมือนเดิมแต่ผลปรากฏว่า Packet Reply กลับมาแจ้งให้เราทราบว่า Packet ที่คุณส่งออกไปต้องแยกชิ้นส่วนก่อนนะ คุณจะแยกชิ้นส่วน Packet จริงๆ ใช่ไหมทำนองนั้นครับ ซึ่งถ้าคุณยอมแยกชิ้นส่วนตามที่ Packet Reply กลับมาก็ได้ครับระบบไม่ได้ว่าห้ามเรา แต่ค่าที่ใส่เมื่อบวก 28byte แล้วต้องไม่เกิน 1500 และไม่ต่ำกว่า 68 นั่นเองครับ

      **หลังจากเราได้ค่าที่เหมาะสมกับเครื่องแล้ว เราจะต้องเผื่ออีก 28 byte ครับ (20 byte คือจำนวนของ ip header และอีก 8 byte คือ จำนวนของ ICMP header) ฉนั้นค่าที่ผมได้คือ 1464+28 = 1492 ผมก็จะนำค่า 1492 นี้ไปใส่บน Router หรือ อุปกรณ์ที่รองรับในส่วนของ MTU นั่นเองครับ

วิธีเปลี่ยนค่า MTU

      ค่า MTU นั้นจะอยู่ในส่วนของการตั้งค่าบน Router หรือ Switch ครับ เมื่อเราได้ค่า MTU มาแล้ววิธีต่อไปคือนำค่าที่ได้ไปเปลี่ยนบนอุปกรณ์ของเราครับ โดย Menu MTU ของ Router แต่ละยี่ห้อก็แตกต่างกันออกไปแต่สุดท้ายก็คล้ายๆ กันหาไม่อยากครับ


หวังว่าบทความ MTU จะเป็นประโยชน์ และครายข้อสงสัยของแต่ละท่านได้ไม่มากก็น้อย ยังมีบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจที่ผมได้รวบรวมไว้ใน IT-BOLT แห่งนี้ติดตามกันด้วยนะครับ..


ขอบคุณครับ


ไม่มีความคิดเห็น