Internet ดาวเทียม คืออะไร? จะได้ใช้หรือไม่มาดูกัน
Satellite internet access
อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมความเร็วสูง
Internet ดาวเทียมไม่ใช่เรื่องใหม่ ในประเทศไทยก็มีการให้บริการมานานแล้ว เช่น iPSTAR แต่ปัจจุบันขนาดได้มีการ upgrade อุปกรณ์ล่าสุดเป็น NEXT GEN เมื่อปี 2019 ความเร็ว Internet ที่ได้ก็ยังมีค่าความหน่วงสูง กล่าวง่ายๆ คือ เล่นเกมส์ไม่ไปตามมือแน่นอน Latency ไม่ต่ำกว่า 600ms ความเร็ว Download 8Mbps / Upload 2 Mbps ราคาที่ต้องจ่ายก็ไม่ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อเดือน จึงเหมาะแก่การนำไปใช้งานของหน่วยงานราชการ หรือ ในถิ่นทุรกันดารที่ไม่มีโครงข่าย vDSL หรือ Fiber เข้าถึง แต่มีความจำเป็นต้องใช้งาน Internet ก็อาจต้องเลือกใช้ของ iPSTAR อันเนื่องมาจากไม่มีตัวเลือกมากนักสำหรับ Internet ดาวเทียมของไทย
จากภาพดาวเทียม Thaicom 4 คือ ดาวเทียมค้างฟ้า (Geostationary Earth Orbit: GEO) ซึ่งหมายถึง ดาวเทียมที่หมุนเท่าความเร็วโลกหมุนประมาณ 1,674KM/ชม. จึงทำให้เมื่อส่องด้วยกล้องโทรทัศน์ในจุดที่ดาวเทียมโคจรอยู่จะเห็นคล้ายว่ามันอยู่กับที่ แต่จริงๆ แล้วมันโคจรด้วยความเร็วเท่าโลกนั่นเอง ซึ่งระยะห่างในการโคจรอยู่ในชั้นของ GEO ซึ่งห่างจากโลกประมาณ 36,000 กิโลเมตร จึงทำให้เกิดปัญหาที่มาของการได้ค่า Latency สูงตลอดเวลาขณะใช้งาน เพราะถูกลดทอนข้อมูลในการเดินทางที่ไกลขึ้นนั่นเอง
แล้วอะไรจะมาตอบโจทย์ Internet ดาวเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ? ปัจจุบันมีผู้ให้บริการดาวเทียมรายใหญ่ที่เป็นดาวเทียมแบบ Low Earth orbit (LEO) ซึ่ง คือ ดาวเทียมวงโคจรต่ำ ซึ่งห่างจากโลกเพียง 500 - 1,200 เท่านั้น หรือ วงโคจรที่ห่างจากโลกไม่เกิน 2,000 กิโลเมตร ที่หมุนเร็วกว่าโลกหรือประมาณ 27358KM/ชม. ซึ่งในต่างประเทศก็จะมีรายใหญ่ดังนี้
- Starlink (SpaceX)
- Amazon project kuiper (Amazon Blue Origin)
- OneWeb
- TELESAT
ในตัวอย่างนี้ บริษัทยักษ์ใหญ่สุดคือ Starlink ที่ทำให้วงการ internet ดาวเทียมกลับมาดูน่าสนใจอีกครั้ง ส่วนการที่จะเข้ามาให้บริการในประเทศไทยก็จะต้องผ่านการอนุมัติจาก กสทช. ก่อน ซึ่งถ้าผ่านการอนุมัติเรื่องคลื่นความถี่ Ku-Band 10-15GHz และแน่นอนสิ่งที่ประชาชนภาคธุรกิจ หรือ ครัวเรือน อยากได้ก็คือการแข่งขันผ่าน Local Partner ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันและผู้บริโภคก็จะได้ราคาที่ถูกลง ซึ่งเมื่อราคาต้นทุนเท่ากันสิ่งที่จะต้องแข่งขันของผู้ให้บริการก็คือ บริการหลังการขายที่ดี นั่นเอง
ทำไมต้อง Starlink? ด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนของเจ้าของบริษัท ที่ต้องการให้ Internet เข้าถึงทุกที่ทั่วโลกในราคาประหยัด ซึ่งไม่ใช่แค่ส่งเสริมทางการทหาร หรือ ภาครัฐเท่านั้น Starlink มีการให้ข้อมูลชัดเจนที่สุด ซึ่ง SpaceX นั้นก็มีแผนการนำคนไปอยู่บนดาวอังคาร (โดยหวังว่าจะสามารถทำเงินได้มหาศาลจากโครงการ Starlink) และมีกำหนดแผนการปล่อยดาวเทียมถึง 42,000 ดวงให้ครอบคลุมทั่วโลกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ด้วย
ปัจจุบันแต่ละเจ้ายิงดาวเทียมไปแล้วกี่ดวง? เรื่องจำนวนของแต่ละบริษัทจะมีติดตั้งเสร็จแล้ว เริ่มตั้งแต่ 428(OneWeb) ดวง ไปจนถึง 4,200 ดวง(Starlink นับจากปี 2022) ซึ่งตัวเลขที่แน่นอนไม่สามารถหาข้อมูลได้ และปัจจุบันโครงข่ายดาวเทียมมากที่สุดคาดการณ์ว่าเป็น Starlink และเป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงค่ายเดียวที่คาดว่าจะเปิดให้บริการในประเทศไทยในปี 2023 นี้
ภาพโครงข่ายดาวเทียมของแต่ละค่าย
คู่แข่งของ Starlink มีใครบ้าง? Amazon Kuiper, OneWeb, Telesat ถือว่าเป็นคู่แข่งที่ต้องการสร้างโครงข่ายดาวเทียบรอบโลกเช่นกัน แต่เมื่อ Starlink เข้ามามีบทบาทและเติบโตเร็วกว่ามากก็จะเกิดการแข่งขันอย่างดุเดือน ซึ่งดีต่อผู้บริโภคแน่นอน แต่ถ้าพูดถึงประเทศไทยตอนนี้ก็จะมีแต่ Starlink เท่านั้นที่พร้อมใช้งานในปี 2023 นี้ถ้า กสทช. อนุมัติ
ภาพการส่งข้อมูลด้วย Laser
จากภาพการส่งข้อมูลด้วย Laser
- Laser communication ในอวกาศดาวเทียมจะสื่อสารกันด้วยคลื่นวิทยุ Ka-band (26-40GHz) ความเร็วแสง
- จุดเด่นของ Starlink คือ มีระบบทำลายตัวเองเมื่อปลดประจำการ กล่าวคือมันสามารถเคลื่อนที่เข้ามายังชั้นบรรยากาศโลก และให้ความร้อนจากชั้นบรรยากาศโลกทำการเผาไหม้สลายอุปกรณ์ให้เป็นฝุ่นผงได้เลย
- ผู้บริหาร ยังเครมว่าการทำแบบดาวเทียมปลดประจำการสามารถทำให้บริษัท Starlink ได้ผลิตดาวเทียมรุ่นใหม่เพื่อไปทดแทนได้ตลอดอีกทั้งจะได้ส่งเทคโนโลยีใหม่ขึ้นไปแทนตัวเก่าด้วย ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานได้รับการ Upgrade ประสิทธิภาพการ รับ - ส่ง สัญญานไปโดยอัตโนมัติ
ภาพการการติดตั้งจานรับสัญญาน
จากภาพการติดตั้งจานรับสัญญาน
- ตัวจานรับสัญญานดาวเทียมของ Starlink จะมีระบบ Heater ไว้ละลายหิมะได้เอง ในส่วนถ้าประเทศไทยจะมีฝน ขี้นก ยางไม้ เหล่านี้ Starlink จะมีแนวทางแก้ไขหรือไม่ต้องติดตาม Model ที่จะผลิตขายในไทยและเพื่อนบ้านต่อไป
ภาพคู่มือการติดตั้ง
จากภาพคู่มือการติดตั้ง
- หลายๆ แบรนด์จะใช้เทคนิคการติดตั้งแบบนี้หมด เรียกว่า user friendly มีเพียงมือถือเครื่องเดียวก็สามารถตั้งค่าใช้งานได้ทันที
- ลง Application
- หาชื่อ wifi เริ่มต้นของระบบ
- ตั้งค่าเปลี่ยนชื่อไวไฟเอง
- สร้างรหัสเอง
- เริ่มใช้งานได้ทันที
สรุป 3 คำถามหลัก
อินเทอร์เน็ตดาวเทียม กับ FTTx อันไหนเร็วกว่ากัน?
ถ้าคุยกันเรื่องความเร็วแน่นอน FTTx เน็ตบ้าน หรือ โครงข่าย MPLS นั้นเร็วกว่าดาวเทียมแน่นอน โดยอินเทอร์เน็ตดาวเทียม ปัจจุบันจะอยู่ที่ Download 350Mbps / Upload 30Mbps เท่านั้น จึงไม่ตอบโจทย์เรื่องความเร็ว แต่จะไปตอบโจทย์ทางด้านเข้าถึงทุกที่ทั่วโลกในที่ๆ ไม่มีเครือข่าย Internet เข้าถึงนี่แหละ Internet ดาวเทียมจะเข้ามาแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี อีกทั้งราคาที่ถูกลงเมื่อเทียบกับความเร็วที่ได้ ทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกเพิ่มขึ้น และใช้งานได้จริง เล่นเกมส์ได้จริง ไม่หน่วง ทำให้คุ้มค่าอย่างแน่นอน
อินเทอร์เน็ตดาวเทียม กับ FTTx หรือ MPLS เมื่อต้องข้ามทวีปใครเร็วกว่ากัน?
สำหรับอินเทอร์เน็ตดาวเทียมของ Starlink นั้นเครมค่า low-latency ต่ำถึง 20ms ในการวิ่งข้ามทวีป เช่น จากไทยไปเมกา ซึ่ง FTTx ทั่วไปเมื่อต้องวิ่งข้ามทวีปค่า latency จะขึ้นไปประมาณ 40-100ms เลยทีเดียว ฉนั้น Starlink ถึงกล้าการันตีกว่าอินเทอร์เน็ตดาวเทียมของเค้านั้น สามารถนำมาใช้ในการแข่งขัน Sport แบบข้ามทวีปได้เลย ซึ่งเหล่าเกมเมอร์จะรู้ดีกว่า เวลาเล่นเกมส์แล้วต้องลงแข่งขันข้ามทวีป จะมี Delay ปัจจุบันก็ยังมีขึ้นไปที่ 100ms ถึงขั้นแพ้เลยก็มี เพราะมันเดินไม่ตามมือเรา
เพราะอะไร FTTx หรือ MPLS ถึงมีค่า latency สูงกว่า ดาวเทียมของ Starlink ในการวิ่งข้ามทวีป?
ความเร็วแสง (speed of light) เดินทางด้วยความเร็วประมาณ 300,000 กิโลเมตร/วินาที แต่เมื่อแสงถูกจับมาอยู่ในวัตถุซึ่งก็คือสาย Fiber จะถูกลดทอนความเร็วลงไปถึง 40% และโครงข่าย Fiber ข้ามทวีปนั้นจะเป็นโครงข่าย Fiber ใต้น้ำ ผู้ให้บริการจะมีจุดพักตามประเทศต่างๆ เพื่อให้คุ้มค่าในการลงทุน ส่วน Fiber ใต้น้ำที่เชื่อมไปยัง เมกาซึ่งเป็นโครงข่ายใต้น้ำที่ยาวที่สุดโดยบริษัท Asia-America Gateway (AAG) Cable System ก็อยู่ที่ประมาณ 20,000 กิโลเมตร ซึ่งนี่ก็คือที่มาของคำว่า latency สูง แต่ Starlink กลับกล้าการันตีว่าการสื่อสารด้วย Laser ระหว่างดาวเทียมนั้นมีความเร็วสูงกว่าสาย Fiber ซะอีก ซึ่งอันนี้ถ้าใครมีโอกาสได้ใช้จริงก็ฝากลองเล่นเกมส์ข้ามทวีปไป Join Server ฝั่งยูโรปให้ด้วยนะครับ
ราคาติดตั้งเท่าไหร่สำหรับ อินเทอร์เน็ตดาวเทียม เมื่อเทียบกับ FTTx?
สำหรับปี 2022 ในต่างประเทศ จะเสียค่าอุปกรณ์รับสัญญานก็ประมาณ 90,000 บาท (จ่ายครั้งเดียว) ส่วนค่าบริการรายเดือนประมาณ 15,000 บาท ซึ่ง Speed ที่ได้ประมาณ 350/30Mbps เหมาะกับการใช้งานต่อชุดไม่เกิน 20 คน ซึ่งถ้าเทียบกับ FTTx รายเดือนแล้วประมาณ 600 บาท ได้ 1000/1000Mbps ซึ่งสุดท้ายถ้า Starlink ได้เปิดใช้งานจริง ก็จะอยู่ที่ว่าผู้ให้บริการจะแนะนำ Solution ไหนให้แก่ลูกค้าที่จะตอบโจทย์และคุ้มค่าที่สุดในการใช้งาน
ขอบคุณครับ
ไม่มีความคิดเห็น