Network attached storage (Create volume)
How to install NAS software
หัวข้อต่อเนื่องกัน
สำหรับขั้นตอนนี้ คือการสร้างรูปแบบการเก็บข้อมูล ว่าต้องการความยืดหยุ่นและ Function ในการใช้งาน NAS ระดับไหน ซึ่งจะมีให้เลือก 3 ระดับ คือ
ขั้นตอนการสร้าง Storage Pool
จากภาพที่ 1 เข้าสู่หน้า Web Gui ของ NAS เลือกที่ Control Panel \ Storage Snapshots
จากภาพที่ 3 เลือกพื้นที่ทั้งหมด (Set to Max) แล้วกด Next
จากภาพที่ 4 ตรวจสอบความเรียบร้อยกด Finish
ขอบคุณครับ
หัวข้อต่อเนื่องกัน
- Network attached storage (Install Harddisk)
- Network attached storage (Install Software)
- Network attached storage (Create RAID5)
- Network attached storage (Add Disk RAID)
สำหรับขั้นตอนนี้ คือการสร้างรูปแบบการเก็บข้อมูล ว่าต้องการความยืดหยุ่นและ Function ในการใช้งาน NAS ระดับไหน ซึ่งจะมีให้เลือก 3 ระดับ คือ
- Static Volume
- เป็น Storage volume ระดับพื้นฐานที่สุดครับ สำหรับผู้ใช้ QNAP Turbo NAS แบบ 2-bay น่าจะใช้ Storage volume แบบนี้เหมาะสมที่สุด เมื่อเลือก Volume แบบนี้แล้ว เนื้อที่ทั้งหมดที่กำหนด จะถูกนำมาใช้กับ Volume นี้ ข้อดีคือ เพราะเนื้อที่ถูกกำหนดเอาไว้ชัดเจน และถูกเตรียมเอาไว้เรียบร้อยแล้ว เลยส่งผลให้ประสิทธิภาพของการทำงานดีที่สุดในบรรดา Storage volume 3 ประเภทที่มีให้เลือก แต่ข้อจำกัดก็คือ ขาดความยืดหยุ่นครับ ถ้าใช้ Storage volume แบบนี้ ฟีเจอร์บางอย่างอาจจะใช้ไม่ได้ เช่น Snapshot backup เป็นต้น … แต่ก็อย่างที่บอก หากเป็นแบบ 2-bay ก็ไม่มีปัญหาหรอกครับ เพราะฟังก์ชั่น Snapshot มันจะกินเนื้อที่ฮาร์ดดิสก์ไปบางส่วน ไม่เหมาะสำหรับรุ่นที่รองรับฮาร์ดดิสก์แค่สองลูก ที่โอกาสเพิ่มความจุจำกัด แถมยังต้องการสเปกหน่วยความจำ 4GB ขึ้นไปด้วยอ่ะนะ แต่หากคุณใช้ QNAP Turbo NAS รุ่นที่สเปกสูงหน่อย แรม 4GB รองรับฮาร์ดดิสก์ 4 ลูก ทำ RAID5 ได้ อะไรแบบเนี้ย ไม่ค่อยแนะนำให้ใช้ Static Single Volume ครับ มันจะทำให้ขาดฟีเจอร์บางอย่างไปอย่างน่าเสียดาย ยกเว้นว่าคุณจะต้องการประสิทธิภาพสูงๆ และคิดว่ายังไงๆ ก็ไม่ได้ใช้ฟีเจอร์จพวก Snapshot backup หรือไม่ได้ต้องการความยืดหยุ่นในการใช้งาน
- Thick Volume
- ทีนี้หากต้องการประสิทธิภาพที่สูง แต่ยังต้องการความยืดหยุ่น เผื่อเอาไว้บ้าง แนะนำ Thick Volume ครับ สำหรับมือใหม่หัดใช้ QNAP Turbo NAS และต้องการเผื่อไว้สำหรับการใช้งาน โดย Volume แบบนี้ จะให้เรากำหนดว่าอยากจะให้มีเนื้อที่เตรียมพร้อมไว้เท่าไหร่ เราจึงสามารถกำหนดได้ว่าใน Storage pool นึง จะมีกี่ Volume และเราก็จะสามารถทำได้ทั้ง Thick volume และ Thin volume หลายๆ อันใน Storage pool เดียว … อันนี้ ถ้าจะให้เทียบกับคอมพิวเตอร์ มันก็คงเทียบได้กับว่า Storage pool คือฮาร์ดดิสก์ครับ และ Volume ก็คือการแบ่งพาร์ติชั่นนั่นเอง Think volume ก็คือ ฮาร์ดดิสก์ลูกเดียว แบ่งพาร์ติชั่นเอาไว้ เราสามารถแบ่งพาร์ติชั่นได้หลายพาร์ติชั่นฉันใด เราก็สามารถมี Volume ได้หลาย Volume ใน Storage pool เดียวฉันนั้นนั่นแหละ ผมมองว่า Think volume นี่จะเหมาะสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปมากที่สุดแล้วล่ะ โดยเฉพาะคนที่ซื้อรุ่น 4-bay ขึ้นไปแรมซัก 4GB ขึ้นไป จะได้ใช้ฟีเจอร์ได้ครบๆ ด้วยน่ะ
- Thin Volume
- แต่หากเราต้องการความยืดหยุ่นแบบถึงขีดสุด ก็ต้องเลือกเป็น Thin Volume นี่แหละ เพราะ Storage volume ประเภทนี้ จะไม่ต้องการเนื้อที่เก็บข้อมูลทางกายภาพในระหว่างการสร้าง Volume ครับ จะใช้ก็เฉพาะอีตอนที่จะเขียนข้อมูลลงไปจริงๆ นั่นแหละ ซึ่งนั่นหมายความว่าเราจะสามารถกำหนดขนาดของ Volume ให้มีขนาดใหญ่กว่าเนื้อที่ความจุจริงๆ ที่มีได้ และจะมี Thin volume หลายๆ อัน อยู่ใน Storage pool เดียวได้ แต่การเลือกใช้ Storage volume ประเภทนี้ ข้อจำกัดก็คือ ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงครับ ความยืดหยุ่นนี้ มันให้ประโยชน์ในการใช้เนื้อที่ฮาร์ดดิสก์อย่างคุ้มค่า เต็มประสิทธิภาพที่สุด สำหรับการใช้งานในระดับองค์กรครับ ผมจะลองยกตัวอย่างนะ เช่น เรามี Storage pool ความจุ 4TB ถ้าเราทำเป็น Static single volume หรือกำหนดเป็น Thick volume ที่เมื่อกำหนดเนื้อที่เอาไว้แล้ว มันจะถูกจองเอาไว้เลย คนอื่นห้ามใช้ … พอเอาเนื้อที่นี้ไปให้ Server A ใช้ แล้วมันเก็บข้อมูลแค่ 500GB เท่านั้น ก็เท่ากับว่าอีก 3.5TB นี่เสียเปล่าเลย แต่ถ้าเกิดเราทำเป็น Thin volume ขึ้นมา 2 volume แล้วกำหนดเนื้อที่เป็น 3TB ในแต่ละ volume จะเห็นว่าเนื้อที่รวมคือ 6TB ซึ่งมากกว่าเนื้อที่ฮาร์ดดิสก์ที่เรามีอยู่จึง (คือ 4TB) แต่ในกรณีนี้ Server A และ Server B จะมองว่าตัวเองมีเนื้อที่เก็บข้อมูล 3TB ครับ ซึ่งในความเป็นจริง Server ทั้งสอง ก็ไม่ได้เก็บข้อมูลเต็มเอี้ยดอยู่แล้ว ฉะนั้น นี่จึงเป็นการใช้เนื้อที่ได้คุ้มค่าครับ และในกรณีที่ในอนาคต Server A และ Server B เกิดใช้เนื้อที่เยอะขึ้นมาจริงๆ ก็สามารถอัพเกรดฮาร์ดดิสก์เพื่อเพิ่มความจุได้ในภายหลัง สรุปว่าThin volume นี่ คนทั่วไปอย่างเราๆ ท่านๆ นี่ไม่จำเป็นต้องใช้ครับ ให้ผู้ใช้งานระดับองค์กรเขาใช้กันเหอะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กาฝาก ที่ได้เขียนอธิบายเกี่ยวกับ Storage Pool ไว้อย่างละเอียดครับ
จากภาพที่ 1 เข้าสู่หน้า Web Gui ของ NAS เลือกที่ Control Panel \ Storage Snapshots
ภาพที่ 1
ภาพที่ 2
จากภาพที่ 2 เลือกรูปแบบเป็น Thick Volume ระบบจะคำนวณ HDD ที่เราต่ออยู่ทั้งหมด \ กด Next
ภาพที่ 3
ภาพที่ 4
ภาพที่ 5
จากภาพที่ 5 ระบบจะทำการ Synchronize Service และสร้าง Folder ที่จำเป็นสำหรับการใช้งาน
ขอบคุณครับ
ไม่มีความคิดเห็น