บทความล่าสุด

ลง Windows 10 แบบ UEFI Mode

How to install windows 10 in UEFI mode?

การลง Windows แบบ UEFI Mode นั้นเหมือนกับการลง Windows แบบ Legacy Mode ซึ่งไม่มีอะไรแตกต่างกันเลยนอกจากไฟล์ MBR System Reserved กับ MSR Recovery ที่จะถูกสร้างขึ้นครับ 

แต่ก่อนจะลงแบบ UEFI จะต้องตั้งค่า Bios ของเราให้พร้อมก่อนนะครับ และสำหรับใครที่ใช้ USB Boot Windows ก็ต้องสร้างการ Boot แบบ UEFI Mode ด้วยนะครับ เช่น ถ้าเรานำเอา Flash Drive ที่มี USB Boot Windows แต่เป็นแบบ MBR (แบบเก่า) มาใช้กับ UEFI Mode ระบบไฟล์ MSR Recovery จะไม่ถูกสร้างขึ้นมาให้ และจะไม่มี Windows Boot Manager ขึ้นมาทำให้ระบบ Error ว่า no bootable devices found

เครื่องมือและวิธีการตั้งค่า Bios เพื่อให้รองรับ UEFI Mode
  1. วิธีทำ usb boot Windows แบบ UEFI
  2. วิธีตั้งค่า Setup Bios Boot Sequence แบบ UEFI


วิธีการลง Windows 10 แบบ UEFI Mode

จากภาพที่ 1 หลังจากทำ Flash Drive Boot และตั้งค่า Bios เสร็จตามวิธีด้านบนแล้ว ให้เสียบ Flash Drive เข้าเครื่องคอมที่จะลง Windows ได้เลย

หมายเหตุ : ในตัวอย่างผมใช้ DELL PC นะครับ

ภาพที่ 1

ภาพที่ 2

จากภาพที่ 2 เปิดเครื่องแล้วกด F12 ย้ำๆ ช้าๆ จนขึ้นหน้า Boot Menu

ภาพที่ 3

จากภาพที่ 3 เลือกที่ Flash Drive ของเรา

หมายเหตุ : จะสังเกตุว่ามี Windows Boot Manager ขึ้นอยู่แสดงว่าเครื่องนี้ได้เคยทำการลง OS แบบ UEFI ไว้แล้ว ฉนั้นถ้าใครไม่ขึ้น Windows Boot Manager ไม่ต้องตกใจครับ ลงเสร็จจะขึ้นทันที

ภาพที่ 4

จากภาพที่ 4 กด Next

ภาพที่ 5

จากภาพที่ 5 กด Install now

ภาพที่ 6

จากภาพที่ 6 เลือก Windows 10 Enterprise x64

หมายเหตุ : สำหรับ DELL ที่ใช้งานเขียนโปรแกรมแนะนำให้เลือกลงแบบ Enterprise ครับ

ภาพที่ 7

จากภาพที่ 7 กดยอมรับ \ กด Next

ภาพที่ 8

จากภาพที่ 8 เลือก Custom: Install

ภาพที่ 9

จากภาพที่ 9 เลือก Disk ที่จะลง Windows ใส่ขนาดและกด Apply

ภาพที่ 10

จากภาพที่ 10 กด OK ยืนยันที่จะแบ่ง Partition

ภาพที่ 11

จากภาพที่ 11 จะสั่งเกตุว่าเมื่อ Create แล้วจะมี Partition ขึ้นมาใหม่ 3 อัน คือ
  1. Recovery Partition
  2. System Partition
  3. MSR (Reserved) Partition
ซึ่งถ้าขึ้นครบตามนี้ระบบ UEFI จะ Boot เข้า Windows ได้อย่างแน่นอนครับ จากนั้นเลือก Unallocated Space พื้นที่ที่เหลือแล้วกด Apply (สร้าง Drive D)


ภาพที่ 12

จากภาพที่ 12 จากนั้นเลือกลง Windows ไปที่ Drive 300GB (Partition 4) ที่เราได้แบ่งไว้และกด Next

ภาพที่ 13

จากภาพที่ 13 เรียบร้อยรอจนเสร็จครับ



ขอบคุณครับ

ไม่มีความคิดเห็น