บทความล่าสุด

VMware ESXi How to add a new storage datastore

เพิ่ม Storage เข้า ESXi

ทำไมต้อง Add Storage? เพราะว่า OS ESXi นั้นถูกออกแบบมาให้ทุกการทำงานของ Hardware สามารถแยกเป็นอิสระต่อกันได้ เพื่อให้สามารถนำทรัพยากรในเครื่อง Server หรือ Blade System ไปใช้งานได้อย่างคุ้มค่าที่สุด ฉนั้นแล้วช่อง Ethernet (LAN) ช่อง Storage (BAY) หรือ อุปกรณ์ที่นำมาต่อขยายๆ ต่างๆ เจ้า ESXi นี้สามารถแยกส่วนของ Hardware ให้เราได้อย่างเป็นระเบียบ จึงทำให้ System Admin ต่างชื่นชอบในการทำงานที่ง่าย และไม่ซับซ้อนมากนักของ OS ESXi นั่นเองครับ
หมายเหตุ : ก่อนที่จะเริ่มขั้นตอนต่อไปนี้ ท่านผู้อ่านจะต้องติดตั้ง OS ESXi ไว้แล้วนะครับ 
  • วิธีติดตั้ง ESXi คลิกที่นี่(กำลัง update เร็วๆ นี้)..

จากภาพที่ 1 เปิดโปรแกรม VMware vSphere Client และใส่ IP ของเครื่อง ESXi
  • Default Username จะเป็น : root
  • Password : ที่เราได้ตั้งไว้ตอนติดตั้ง ESXi
  • VMware vSphere Client Download ที่นี่

ภาพที่ 1

ภาพที่ 2

จากภาพที่ 2 เข้ามาที่ Menu Inventory \ Configuration \ Storage \ กดปุ่ม Add Storage..

ภาพที่ 3

จากภาพที่ 3 เลือก Disk/LUN ถ้าไม่ได้ใช้ Storage ผ่าน Network

ภาพที่ 4

จากภาพที่ 4 ในที่นี้ใช้ Storage แบบ SCSI โดยทำ Raid 5 ไว้เรียบร้อยแล้ว
  • HDD RAID 5 สามารถเสียได้ 1 ลูกเท่านั้น ถ้าเสีย 2 ลูก ในเวลาเดียวกันข้อมูลจะเสียหายทันที
  • การทำ RAID HDD จะต้องมี การ์ด RAID ที่รองรับการทำ RAID นั้นๆ โดยปกติแล้ว เครื่อง Server ทั่วไปจะทำ RAID 0, 1, 10 ได้อยู่แล้ว แต่ถ้าต้องการทำ RAID 5, 6 และ RAID อื่นๆ ที่ต้องการความปลอดภัยของข้อมูลสูงจะต้องมีการ์ด RAID เข้ามาบริหารจัดการเสมอ ถ้าไม่มีจะไม่สามารถตั้ง RAID ที่ต้องการได้
  • วิธีการทำ RAID นั้นง่ายมาก เพียงแค่ Restart เครื่อง Server และมองหาข้อความตอนเครื่องกำลัง Boot ว่าจะต้องกดปุ่มไหนเพื่อเข้า Menu RAID ตั้งแต่ปุ่ม F1 - F12 นั่นเองครับ หรือ คลิกที่นี่ เพื่อดูตัวอย่างการทำ RAID บนเครื่อง PC 

ภาพที่ 5

จากภาพที่ 5 ตรวจสอบข้อมูลแล้วกด Next

ภาพที่ 6

จากภาพที่ 6 ตั้งชื่อ Storage ตามต้องการ \ กด Next

ภาพที่ 7

จากภาพที่ 7 เลือกขนาดว่าต้องการใช้พื้นที่ทั้งหมดของ SCSI เลยไหม \ กด Next

ภาพที่ 8

จากภาพที่ 8 กด Finish

ภาพที่ 9

จากภาพที่ 9 สำเร็จ datastore raid5 ก็จะถูกเพิ่มเข้าสู่ Inventory เพื่อนำไปใช้งานในการติดตั้ง OS ต่อไป




ขอบคุณครับ

ไม่มีความคิดเห็น