บทความล่าสุด

vSAN with vCenter Server ใช้ CPU กับ RAM ร่วมกันได้ไหม เรามาดูวิธีคิดง่ายๆ กัน

How to use ram and cpu together on vSAN cluster

เทคโนโลยี vSAN หรือ Ceph Storage นั้นเป็นการนำ Software มาช่วยในการบริหารจัดการพื้นที่เก็บข้อมูล หรือ Datastore ซึ่งลดความยุ่งยากในการใช้เทคโนโลยีแบบเก่าที่เป็น CI หรือ Converged โดยจะมี Server และ Storage แยกจากกัน โดยตัว vSAN นั้นเป็น Feature 1 ของ vCenter เพียงแค่ Enable Service หรือ สั่ง Deployment เป็นแบบ vSAN ก็จะสามารถใช้งานได้ทันที ซึ่งในบทความต่อไปจะมีแนะนำวิธีลงและติดตั้ง vSAN 

สำหรับบทความนี้ ก็จะมาไขข้อข้องใจว่าเมื่อทำ vSAN แล้วเนี่ยมันสามารถดึง CPU, RAM ของอีกเครื่องหนึ่งมาใช้งานได้ไหม และเจ้า Virtual CPU หรือ Threads เนี่ยมันทำงานยังไงหลายๆ คนยังสับสนกันอยู่ ซึ่งวันนี้ก็จะมาแนะนำวิธีตั้ง CPU ให้ดูเท่ๆ คล้ายกับว่าเวลามีคนมาใช้เครื่องก็จะโห CPU ตั้งหลายตัวเครื่องนี้แรงจริง (ในความเป็นจริงไม่ได้แรงขึ้นนะครับ)

vSAN คืออะไร? มันคือการเอา Server ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปมาต่อหากันโดยไม่ต้องมี Storage แยก หลักการคือ เอา Server ต่อให้อยู่วงเดียวกันผ่าน Network Switch 10GbE ขึ้นไป ไม่ต้องใช้ SAN Switch ซึ่งข้อดีของ vSAN คือทุก Hosts ที่อยู่ใน Cluster เดียวกันจะเห็น Disk เหมือนกันทำให้เวลาโยกย้าย VM หรือ Server พังไป 1-2 NODE เจ้าตัว VM ที่อยู่บนเครื่องที่พังก็จะสามารถ HA (High availability) ย้ายตัวเองไปยังอีกเครื่องนึงได้ทันทีเพราะใช้ Datastorage ชุดเดียวกันอยู่แล้ว ซึ่งกระบวนการนี้แทบไม่มี Down Time (แล้วแต่สถาปัตยกรรมของแต่ละค่ายนะครับ)


ภาพแสดง ใน 1 VM สามารถใช้ RAM ได้เท่าไหร่

จากภาพบน ก็จะเห็นว่าตั้งแต่ ESXi 6 สามารถใช้แรมได้ถึง 4TB และปัจจุบันอัดได้ถึง 24TB

  • สำหรับ Capacity ต่อ 1 VM ปัจจุบันได้ที่ 64TB หรือ 65536 GB สามารถใช้เกินได้ แต่ระบบจะขึ้นเตือนว่าอันตราย และมีข้อน่ากังวลอย่างมากในการ Backup หรือ Recovery กรณีต้องการใช้เกิน 64TB แนะนำให้เป็น Physical server ต่อ Fiber Channel แบบเดิมก็ดี หรือ แบบ Switch QSFP+ หรือ ต่อแบบ Direct attach ก็ได้
  • สำหรับ CPU ปัจจุบันใช้ Maximum ได้ที่ 768 vCore ซึ่งมันคืออะไรก็ติดตามได้จากข้อมูลด้านล่างนี้




จากภาพที่ 1
  • HCI ทุกเจ้า เมื่อทำ Cluster เสร็จแล้วระบบจะรวมทุกอย่างเป็น 1 ไว้ที่ Dashboard ให้ แต่ด้วยสถาปัตยกรรมในการทำ Software defined storage แตกต่างกันออกไป ฉนั้นก่อนติดตั้งระบบ HCI ก็จะต้องอ่านคู่มือเบื้องต้นก่อน เพียงเท่านี้ทุกคนก็สามารถติดตั้งได้แล้วครับ แต่ที่นี่มีสอนทำ vSAN นะแต่ยังไม่ได้เขียนให้
HCI ตอนนี้ค่ายไหนบ้าง
  • vCenter vSAN (นิยมใช้กันทั่วโลก)
  • Proxmox (ใช้งานได้ดี ผมรับติดตั้งติดต่อได้ครับ)
  • H3C (ใช้ง่าย นิยมในจีน และราชการ)
  • Nutanix (เบอร์ต้นๆ ทำ Data Protection ได้ไวสุด 3 วิ)
ภาพที่ 1


ภาพที่ 2

จากภาพที่ 2 
  • ในที่นี้แสดงให้เห็นว่า Host .103 นั้น มีรายละเอียดดังนี้
    • Sockets = 2
    • Cores per Socket = 20
    • Logical Processors = 80 (คือค่า Threads จริงของ CPU 40+40)
    • Memory = 256GB

ภาพที่ 3

จากภาพที่ 3 
  • ผมเปิด CPU จริงๆ ให้ดูผ่าน Web GUI ของ H3C
    • จะเห็นว่า Total มี CPU 2 หัว
    • Core หัวละ 20 เป็น 40
    • Threads หัวละ 40 เป็น 80

ภาพที่ 4

จากภาพที่ 4
  • ผมลองสร้าง VM ขึ้นมา 1 อัน
  • ในภาพจะข้ามมาที่หน้า Customize Hardware นะครับ
  • ดูส่วน CPU ก่อน 
    • CPU = 80 ค่านี้สามารถสูงสุดถึง 768 vCore ซึ่งมันก็คือค่า Threads ที่นำมารวมกัน ถามว่าจะทำยังไงให้ไปถึง 768 vCore ได้ เราก็จะต้องใช้ CPU ระดับ TOP เช่น Intel® Xeon® Platinum 8490H แล้วก็เลือกใช้ Server ที่มี 6 CPU Sockets ก็จะได้ 720 vCore ซึ่งก็ยังไม่ถึง Maximum ที่ใช้ได้อยู่ดี
  • ต่อมา Core per Socket = 20 หมายความว่าอะไร เอาจริงๆ แล้ว ค่านี้เหมือนมีไว้ปรับเล่นๆ ให้สามารถใช้งานได้ตาม System Requirement ของ Software ที่เราใช้มากกว่าครับ ตัวที่บ่งบอกว่าเราใช้ CPU จริงๆ ก็คือ CPU = 80 อยู่แล้ว 
  • ต่อมา Socket เลขนี้จะเปลี่ยนอัตโนมัติตามที่เราเลือก Core per Socket หมายความว่า ถ้าเราอยากได้ Socket CPU ที่ VM จะมองเห็นแค่สองอันเราก็ปรับจากเลข 20 เป็น 40 เลข Socket ก็จะเปลี่ยนเป็น 2 เวลาเราเข้า Windows ดูก็จะเห็นว่ามี CPU 2 หัว หรือ อยากให้มี Socket CPU มากๆ ก็ปรับเป็น 10 เวลาเราเข้า Windows ดูก็จะเห็นว่ามี CPU เอา 80 หาร 8 ก็จะ 10 Socket 555+ ถามว่าดีไหมก็ดีครับ เอาไว้หลอกโปรแกรมที่เราจะใช้งานนั่นเอง
  • แล้ว Performance หล่ะ แน่นอนครับ VM จะมีให้ติ๊ก Reservation ถ้าเราติ๊กมันจะจอง vCPU ก็คือดึงของจริงไปใช้เลย ถ้าไม่ติ๊กก็คือแบ่งๆ กันใช้ร่วมกับ VM อื่นครับ ซึ่งแนะนำให้ไม่ต้อง Reservation ครับ เพราะ Software ส่วนใหญ่ จะไม่ใช้ CPU ถ้าไม่ใช่ HPC (High performance computing) หรือ Renders หนักๆ CPU ก็จะไม่ค่อยได้ใช้ครับ

ภาพที่ 5

จากภาพที่ 5
  • Memory จะเห็นว่าต่อ 1 VM ให้ใช้แค่ 24TB เท่านั้น ณ ปัจจุบันนะครับ
คำถาม: เมื่อทำ vSAN แล้วสามารถใช้ CPU กับ RAM ร่วมกันใน Cluster ได้ไหม ตอบคือ ไม่ได้ ครับ 

สำหรับค่ายอื่นหล่ะ เห็นบอกว่าใช้ CPU กับ RAM ร่วมกันได้ ในส่วนนี้ถ้าผมให้ข้อมูลของ vSAN ผิดต้องขออภัยนะครับ

ภาพที่ 6

จากภาพที่ 6
  • สำหรับตอนนี้ใน VM จะสามารถ Maximum Capacity ได้ 64 TB นะครับ สามารถเกินได้ แต่ระบบจะขึ้น Alert ไม่แนะนำให้เกินครับ เพราะจะล่าช้าเวลา Backup หรือ Recovery ซึ่งถ้าต้องใช้งานเกินก็อาจจะต้องใช้เป็น Physical Server จริงแยกไปก่อนเชื่อมกับ Storage ดีกว่าครับ

ภาพที่ 7

จากภาพที่ 7
  • ภาพแสดงให้เห็นว่าผมใส่ RAM ที่ 250GB ระบบก็ไม่ได้ไปกิน RAM แต่อย่างใด จะเป็นการแชร์ RAM กับ VM อื่นๆ ยกเว้นถ้าเรา Reservation ไว้ RAM จะถูกใช้งานครับ
หมายเหตุ: vSAN แต่ละ Node ก็กินแรมเริ่มที่ 32GB ขึ้นไป

ภาพที่ 8

จากภาพที่ 8
  • ลองปรับ CPU เป็น 80, Core per Socket เป็น 40

ภาพที่ 9

จากภาพที่ 9
  • เมื่อเข้า Windows ไปดูก็จะเห็นว่ามี 80 Cores จริงๆ นะ แต่มี CPU หัวละ 40 เหมือนจริงไหมหล่ะ 

ภาพที่ 10

จากภาพที่ 10
  • ลองปรับ CPU เป็น 80, Core per Socket เป็น 20 จะเป็น Socket = 4

ภาพที่ 11

จากภาพที่ 11
  • ระบบก็จะโชว์เป็นมี CPU 4 หัว ก็จะดูโหดขึ้นมาอีก

ภาพที่ 12

จากภาพที่ 12
  • ลองดูใน This PC บ้าง
  • ขึ้น 4 processors เหมือนจริงดี



ขอบคุณครับ

ไม่มีความคิดเห็น