บทความล่าสุด

Proxmox VE Hypervisor ทรงพลังที่ Cloud Service Provider ต่างเลือกใช้

Proxmox Virtual Environment
Proxmox Server Solutions GmbH | www.proxmox.com


Proxmox Hypervisor นั้นจัดเป็น Hypervisor ประสิทธิภาพสูง Based on Debian GNU/Linux ที่มีความสามารถครบทุกด้าน ซึ่งสามารถใช้งานได้ตั้งแต่เครื่องโบราณ x86 Hardware และรอบรับ Mainboard, CPU ทุกตระกูลที่สามารถเปิดใช้งาน VM ได้ ทั้ง Intel VT-x และ AMD-V โดยไม่มี Error 

สำหรับ Proxmox นั้นได้อยู่ในวงการ VE มาตั้งแต่ปี 2005 ซึ่งถ้าเทียบ Feature ในการใช้งานกับหลายๆ แบรนด์แล้ว Proxmox นั้นถือว่าเป็น Hypervisor Open-source license ที่ให้ครบที่สุด ปัจจุบันจึงทำให้ Proxmox มีชื่อเสียงอย่างมาก และยืนอันดับต้นๆ ของโลกมาโดยตลอด และมันสามารถทำอะไรได้บ้างเดี๋ยวเราไปดูกัน

ก่อนอื่น ต้องเข้าใจก่อนว่า Proxmox Hypervisor คืออะไร? ถ้าในมุมมองปกติจะคล้ายๆ กับ Cisco HyperFlex, VMware vSAN, DELL EMC VxrRail, HPE SimpliVity, Nutanix, Sangfor  ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือ HCI (Hyper - Converged Infrastructure ) โดยใช้เทคนิคนำเอา Local Storage ของแต่ละเครื่องมาทำงานร่วมกันซึ่งรองรับตั้งแต่ SATA, SAS, SSD, NVMe โดย Concept ของ HCI นั้นคือการลดค่าใช้จ่าย และรวมหลายๆ เครื่องเข้าสู่เครือข่ายเดียวกัน กล่าวคือยังคงต้องมี Switch 10Gbps - 100Gbps 2 เครื่องทำ Active/Standby กัน เพื่อให้ Storage สามารถ Read/Write ได้อย่างรวดเร็ว



HCI นั้นจะมาตอบโจทย์ผู้ดูแลระบบไอทีเป็นอย่างมาก ทำให้ไอทีสามารถบริหารจัดการได้จากจุดๆ เดียว เพื่อที่จะได้ดู ประสิทธิภาพ หรือ ทรัพยากรคงเหลือ เพื่อสามารถที่จะวิเคราห์ได้ว่าองค์กรเราใช้งานไปในทิศทางไหน ทำให้ระบบไม่ขาด ไม่เกิน จนเกินไป และที่สำคัญระบบจะมี Down Time เป็น 0% เนื่องจากสามารถถอด Server Node ที่มีปัญหาออกเพื่อไปซ่อมได้เลย หรือ มีการ Upgrade ไส้ในของ Server นั้นๆ ก็ไม่กระทบต่อระบบ VM ของเรา

(ข้อดี) Proxmox open-source server  VS HCI License Server
  1. ไม่ต้องเสียค่า License ใดๆ
  2. ไม่ต้องติดตั้ง Management Center
  3. รองรับทุก Platform ทุก Server ทุก CPU
  4. รองรับ Backup Recommended ที่ 15 นาที
  5. รองรับ HBA Card โดยทำ RAID จาก Proxmox แทน
  6. เข้า Management ได้จากทุก Node ใน Cluster
  7. ปรับแต่ง Logo เป็นของตัวเองได้
  8. ปิด Pop-Up License Open Source ได้
  9. มี Driver LAN + Disk Type รองรับจากผู้ผลิต (โหลดฟรี)
  10. มี Firewall ระดับ Cluster และ VM เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม
  11. มี Feature Replication กรณีทำ Server เป็น Standalone หรือแยก Storage
  12. มี Feature HA ย้าย Server ทันที + รองรับทำ DR Site Network ต้องถึงกัน
  13. มี Proxmox Backup Server รองรับ Deduplication and Compression
  14. มี Community Supports (Web Site)
  15. มี Training จากผู้ผลิต Software (Online)
  16. มี Ticket Supports Subscription (Remote Support) ต่างประเทศ
  17. สามารถปรับความเร็ว Network, Disk ของแต่ละ VM ได้
  18. สามารถให้สิทธิ์ User ตามแต่ละ VM ได้ กำหนดได้ว่าสามารถแก้ไขอะไรได้บ้าง
  19. อื่นๆ อีกมากมายความสามารถครบครัน
(ข้อด้อย) Proxmox open-source server  VS HCI License Server
  1. ไม่รองรับ Backup แบบแยก Transection ที่สำรองข้อมูลระดับ 1-2 Minute
  2. ในการใช้งาน Linux อาจต้องมี Tunning ตอนสร้าง VM
  3. ในการใช้งาน Windows อาจต้องมี Tunning ตอนสร้าง VM
  4. บางอย่างต้องใช้ Command (Debian Linux)
  5. ต้องมีการ Tunning OSD Ceph Storage (RBD RAID) เพื่อให้ Read/Write ทำงานเต็มที่
  6. ต้องรู้ทั้ง Proxmox GUI และ Command Linux ในการแก้ปัญหา เพราะยังมี Bugs เช่น การลบ การเพิ่ม การแก้ไขข้อมูลต่างๆ ซึ่งถ้าเล่นจนลึกซึ้งแล้วจะแก้ Bugs ได้หมด โดยไม่ต้องพึ่ง Support
ภาพตัวอย่าง

หน้าหลักจะเรียกว่า Datacenter ไว้ดู Summary รวมของระบบ

หน้าแสดง OSD Ceph รองรับ Disk ทุก Type

หน้าแสดง Ceph Dashboard ไว้ Monitor Ceph หรือ Config ได้


สรุป Proxmox VE Hypervisor เป็น Open Source License ที่จัดว่าให้มาครบทุก Feature ในการทำ Hyper - Converged Infrastructure ซึ่งไอทีคนไหนที่อยากเรียนรู้ เพื่อพัฒนา Proxmox ไปใช้กับองค์กรผมแนะนำเป็นอย่างยิ่งเพราะมันคือ OKR ที่คุณสามารถลดค่าใช้จ่ายรายปีได้อย่างมหาศาล คุณสามารถย้ายทุก VM ทุก Platform มายัง Proxmox Cluster ได้เลย ซึ่งในการทำ Proxmox มีแค่ 2 ส่วนเท่านั้น
  1. ซื้อเครื่อง Server ขั้นต่ำ 3 เครื่อง พร้อม HBA Card, Module Network สเปคตามต้องการ
  2. ซื้อ Switch 10Gbps - 100Gbps มาเชื่อมไว้สำหรับ Ceph Storage คุยกัน
  3. ส่วนขา Manage ก็ใช้วงเดิมได้เลย
ในส่วนตัวหวังว่า Proxmox จะเข้ามามีบทบาทในตลาดมากขึ้น เพราะจะทำให้เจ้าตลาดไม่กล้าขยับราคา License ขึ้นไปสูงมากนัก โดยถ้าผู้อ่านจะนำไปใช้ในบริษัทก็ขอแนะนำให้ทดสอบจนคล่องก่อนครับ 


ขอบคุณครับ


ไม่มีความคิดเห็น