Ethernet คืออะไร? แตกต่างจากระบบ Network ประเภทอื่นอย่างไร
Ethernet คืออะไร?
กล่าวคือ เป็นเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งมีการพัฒนา มาอย่างต่อเนื่อง และยาวนานมาก ซึ่งการเชื่อมต่อหรือที่เราเรียกว่าระบบ Network นั้นเราสามารถแบ่งเป็น 3 แบบด้วยกันคือ LAN, MAN และ WAN ซึ่งการเชื่อมต่อที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์คุ้นเคยมากที่สุดก็คือระบบการเชื่อมต่อแบบ LAN ที่มีเทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูลแบบ Ethernet
Ethernet คืออะไร
นับได้ว่าเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่ได้รับความนิยมมาก เพราะเป็นการส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง ซึ่งในช่วงแรกที่มีการพัฒนาระบบ Ethernet สามารถที่จะส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า Fast Ethernet และ Gigabit Ethernet ที่ทำความเร็วได้ถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) หรือ 1 Gbps และ 1000 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) หรือ 10 GbE ตามลำดับ โดยมีการควบคุมมาตรฐานของ Ethernet ด้วยสถาบันวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Institute of Electrical and Electronics Engineers) หรือ IEEE ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรที่ค่อยดูแลและพัฒนาเทคโนโลยีทางไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ซึ่งก็รวมถึง Ethernet ด้วยเช่นกัน
Ethernet ทำหน้าที่อะไร
Ethernet เป็นการสื่อสารแบบโพรโทคอล (Protocol) ของ LAN ชนิดหนึ่งที่พัฒนาขึ้นโดย 3 บริษัทใหญ่คือบริษัท Xerox Corporation, Digital Equipment Corporation (DEC) และ Intel ในปี ค.ศ. 1976 หรืออาจจะเรียกการสื่อสารแบบนี้ว่าเป็นการสื่อสารระดับล่างก็ได้เช่นกัน
ระบบการส่งแบบ Ethernet นั้นเป็นระบบการส่งที่เรียกว่า CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access / Collision Detection) โดยอธิบายหลักการทำงานได้ดังนี้ ในการส่งข้อมูลแต่ละครั้งจะทำการส่งได้เพียงคนเดียวเท่านั้น แต่ถ้าในเวลาเดียวกันมีการส่งข้อมูลมาพร้อมกัน มากกว่า 1 คนด้วยกัน ซึ่งเราเรียกว่า “Collision” อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะมีการตรวจสอบ Collision เมื่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ตรวจสอบว่ามีการส่งข้อมูลมาพร้อมกัน อุปกรณ์เหล่านั้นจะหยุดส่งข้อมูลเพียงช่วงเวลาหนึ่ง และจะทำการส่งใหม่ ส่วนเวลาที่หยุดรอนั้นจะเป็นการสุ่มแบบสถิติ ทำให้การเกิด Collision อีกครั้งจะเป็นไปได้น้อยมาก ๆ แต่ถ้าเกิดการ Collision จริงๆ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เหล่านั้นก็จะวนกลับมารอและสุ่มเวลาอีกรอบจนกว่าจะไม่พบการ Collision อีก
Ethernet แตกต่างจากระบบ Network ประเภทอื่นอย่างไร
ปัจจุบัน Speed ของ Ethernet นั้นมีความเร็วสูงถึง 100 Gigabit Ethernet (100GbE) และส่งสัญญาณได้ไกลมากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถนำ Ethernet มาต่อในระยะทางไกลๆ เกิน 10 กิโลเมตรได้ ในส่วนขององค์กรใหญ่ๆ นั้นยังคงต้องใช้ Ethernet กันต่อเนื่องเพื่อให้ระบบภายในองค์กรยังทำงานต่อไปได้ เพราะการเชื่อมต่อสู่โลกภายนอกผ่าน Network หรือ World Wide Web นั้นยังคงต้องอาศัยเทคโนโลยีที่เร็วกว่าแรงกว่ามาช่วยในการติดต่อสื่อสารต่อไป
LAN (Local Area Network) คือระบบโครงข่ายที่ใช้การส่งข้อมูลแบบ Ethernet ซึ่งนิยมใช้ในโครงข่ายขนาดเล็ก และระยะทางที่ไม่ไกลมากนัก ส่วนมากแล้วจะใช้เชื่อมต่อภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคารที่มีระยะไม่ไกลเกิน 5 กิโลเมตร
MAN (Metropolitan Area Network) เป็นระบบโครงข่ายระดับกลาง โดยปกติแล้วจะเป็นระบบโครงข่ายที่มีระยะทางไม่เกิน 50 กิโลเมตร
WAN (Wide Area Network) เป็นระบบโครงข่ายระดับใหญ่ เพราะการเชื่อมต่อจะเชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ โดยมีการเข้ารหัสพิเศษในการเชื่อมต่อ ทำให้เป็นเน็ตเวิร์กส่วนตัวเสมือน (Virtual Private Network)
จากที่ยกตัวอย่างมาเราจะเห็นได้ว่า ระบบการส่งข้อมูลแบบ Ethernet ในระบบ Network LAN นั้นจะแตกต่างกับระบบ Network แบบอื่นอย่างเห็นได้ชัดทั้งในลักษณะการทำงาน รวมถึงการใช้งานด้วย
แหล่งข้อมูล: knowledge
ขอบคุณครับ
กล่าวคือ เป็นเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งมีการพัฒนา มาอย่างต่อเนื่อง และยาวนานมาก ซึ่งการเชื่อมต่อหรือที่เราเรียกว่าระบบ Network นั้นเราสามารถแบ่งเป็น 3 แบบด้วยกันคือ LAN, MAN และ WAN ซึ่งการเชื่อมต่อที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์คุ้นเคยมากที่สุดก็คือระบบการเชื่อมต่อแบบ LAN ที่มีเทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูลแบบ Ethernet
Ethernet คืออะไร
นับได้ว่าเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่ได้รับความนิยมมาก เพราะเป็นการส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง ซึ่งในช่วงแรกที่มีการพัฒนาระบบ Ethernet สามารถที่จะส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า Fast Ethernet และ Gigabit Ethernet ที่ทำความเร็วได้ถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) หรือ 1 Gbps และ 1000 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) หรือ 10 GbE ตามลำดับ โดยมีการควบคุมมาตรฐานของ Ethernet ด้วยสถาบันวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Institute of Electrical and Electronics Engineers) หรือ IEEE ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรที่ค่อยดูแลและพัฒนาเทคโนโลยีทางไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ซึ่งก็รวมถึง Ethernet ด้วยเช่นกัน
Ethernet ทำหน้าที่อะไร
Ethernet เป็นการสื่อสารแบบโพรโทคอล (Protocol) ของ LAN ชนิดหนึ่งที่พัฒนาขึ้นโดย 3 บริษัทใหญ่คือบริษัท Xerox Corporation, Digital Equipment Corporation (DEC) และ Intel ในปี ค.ศ. 1976 หรืออาจจะเรียกการสื่อสารแบบนี้ว่าเป็นการสื่อสารระดับล่างก็ได้เช่นกัน
ระบบการส่งแบบ Ethernet นั้นเป็นระบบการส่งที่เรียกว่า CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access / Collision Detection) โดยอธิบายหลักการทำงานได้ดังนี้ ในการส่งข้อมูลแต่ละครั้งจะทำการส่งได้เพียงคนเดียวเท่านั้น แต่ถ้าในเวลาเดียวกันมีการส่งข้อมูลมาพร้อมกัน มากกว่า 1 คนด้วยกัน ซึ่งเราเรียกว่า “Collision” อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะมีการตรวจสอบ Collision เมื่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ตรวจสอบว่ามีการส่งข้อมูลมาพร้อมกัน อุปกรณ์เหล่านั้นจะหยุดส่งข้อมูลเพียงช่วงเวลาหนึ่ง และจะทำการส่งใหม่ ส่วนเวลาที่หยุดรอนั้นจะเป็นการสุ่มแบบสถิติ ทำให้การเกิด Collision อีกครั้งจะเป็นไปได้น้อยมาก ๆ แต่ถ้าเกิดการ Collision จริงๆ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เหล่านั้นก็จะวนกลับมารอและสุ่มเวลาอีกรอบจนกว่าจะไม่พบการ Collision อีก
Ethernet แตกต่างจากระบบ Network ประเภทอื่นอย่างไร
ปัจจุบัน Speed ของ Ethernet นั้นมีความเร็วสูงถึง 100 Gigabit Ethernet (100GbE) และส่งสัญญาณได้ไกลมากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถนำ Ethernet มาต่อในระยะทางไกลๆ เกิน 10 กิโลเมตรได้ ในส่วนขององค์กรใหญ่ๆ นั้นยังคงต้องใช้ Ethernet กันต่อเนื่องเพื่อให้ระบบภายในองค์กรยังทำงานต่อไปได้ เพราะการเชื่อมต่อสู่โลกภายนอกผ่าน Network หรือ World Wide Web นั้นยังคงต้องอาศัยเทคโนโลยีที่เร็วกว่าแรงกว่ามาช่วยในการติดต่อสื่อสารต่อไป
LAN (Local Area Network) คือระบบโครงข่ายที่ใช้การส่งข้อมูลแบบ Ethernet ซึ่งนิยมใช้ในโครงข่ายขนาดเล็ก และระยะทางที่ไม่ไกลมากนัก ส่วนมากแล้วจะใช้เชื่อมต่อภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคารที่มีระยะไม่ไกลเกิน 5 กิโลเมตร
MAN (Metropolitan Area Network) เป็นระบบโครงข่ายระดับกลาง โดยปกติแล้วจะเป็นระบบโครงข่ายที่มีระยะทางไม่เกิน 50 กิโลเมตร
WAN (Wide Area Network) เป็นระบบโครงข่ายระดับใหญ่ เพราะการเชื่อมต่อจะเชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ โดยมีการเข้ารหัสพิเศษในการเชื่อมต่อ ทำให้เป็นเน็ตเวิร์กส่วนตัวเสมือน (Virtual Private Network)
จากที่ยกตัวอย่างมาเราจะเห็นได้ว่า ระบบการส่งข้อมูลแบบ Ethernet ในระบบ Network LAN นั้นจะแตกต่างกับระบบ Network แบบอื่นอย่างเห็นได้ชัดทั้งในลักษณะการทำงาน รวมถึงการใช้งานด้วย
แหล่งข้อมูล: knowledge
ขอบคุณครับ
ไม่มีความคิดเห็น